Page 9 -
P. 9

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                       อีกหนึ่งนโยบายในกลุ่มนี้คือการขยายตลาดส่งออก ที่ถึงแม้จะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น แต่สวัสดิการ

               สังคมเพิ่มขึ้น แสดงว่า รายได้ของประชากรเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น และหากยิ่งสามารถส่งออก
               สินค้าประเภทข้าว และยางพารา ได้เพิ่มขึ้น ความเหลื่อมล้ำยิ่งลดลงมากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากมีผู้มีรายได้

               น้อยอยู่ในสาขามากกว่าสาขาอื่น นโยบายลักษณะนี้เช่น การส่งเสริมการค้าชายแดน การเจรจาการค้าระหว่าง

               ประเทศ เป็นต้น

                       กลุ่มที่ 2 นโยบายที่สามารถทำได้ แต่มีเงื่อนไขในการดำเนินนโยบาย คือกลุ่มนโยบายที่มีขนาด

               ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่สูงอย่างมีนัยสำคัญ แต่สร้างผลกระทบเชิงลบต่อเป้าหมายการพัฒนาบางเป้าหมาย

               ได้แก่ นโยบายด้านการผลิต และปัจจัยการผลิตในบางสาขาการผลิตที่มีผลทำให้ปริมาณสินค้าเพิ่มสูงขึ้น แต่
               ราคาผลผลิตตกต่ำจนทำให้รายได้เกษตรกรลดลง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยนโยบายด้านการเพิ่มมูลค่าสินค้า

               และนโยบายด้านอุดหนุนเกษตรกร ตัวอย่างแนวทางในการกำหนดเงื่อนไข เช่น


                       o  นโยบายด้านการผลิต และปัจจัยการผลิต ควรทำเฉพาะบางสินค้าที่มีความยืดหยุ่นของราคาต่อ
                          อุปสงค์ไม่ต่ำ หรือทำ policy mix ควบคู่กับการเพิ่มอุปสงค์ เช่น การขยายตลาดส่งออก เป็นต้น

                          เพื่อให้รายได้โดยรวมของเกษตรกรไม่ลดลง

                       o  นโยบายด้านการเพิ่มมูลค่าสินค้า แม้เป็นนโยบายที่ผลการวิเคราะห์ระบุถึงผลเสียที่มีต่อระบบ
                          เศรษฐกิจ ทั้งสวัสดิการสังคมลดลง เศรษฐกิจหดตัว และอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น แต่ผลกระทบเชิงลบ

                          ดังกล่าวสามารถเปลี่ยนเป็นผลกระทบเชิงบวกได้ หากสินค้าที่เพิ่มมูลค่า มุ่งเน้นไปที่ตลาดส่งออก

                          มากกว่าการบริโภคภายในประเทศ หรือเป็นกลยุทธ์ในการทำธุรกิจของผู้ประกอบการแต่ละราย
                          ไม่ส่งผลในการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเดียวกันทั้งตลาด

                       o  นโยบายด้านอุดหนุนเกษตรกร จากผลการศึกษาพบว่า การประกันรายได้เป็นการอุดหนุนที่มี
                          ประสิทธิภาพมากที่สุด แต่เหมาะสมที่จะเป็นนโยบายในระยะสั้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรเท่านั้น

                          เพราะหากเป็นการช่วยเหลือในระยะยาวจะส่งผลเสียต่อคุณภาพสินค้าเกษตรกรของไทย อย่างไร
                          ก็ตามหากพัฒนาเป็นระบบประกันราคาสินค้าเกษตรที่มีการจ่ายค่าเบี้ยประกัน เพื่อเป็น

                          หลักประกันรายได้ให้แก่เกษตรกรเมื่อราคาสินค้าตกต่ำ จะเป็นนโยบายที่สร้างภูมิคุ้มกันให้กับ

                          เกษตรกรได้ดีกว่า


                       กลุ่มที่ 3 นโยบายไม่เร่งด่วน คือกลุ่มนโยบายที่ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจน้อย หรือแทบไม่มีการ
               เปลี่ยนแปลงต่อระบบเศรษฐกิจ เช่น การหันหันมาบริโภคสินค้าเกษตรภายในประเทศ ลดภาษีนำเข้าสินค้า

               เกษตร เป็นต้น


                       การกำหนดนโยบายด้านเกษตรจำเป็นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับสาขาการผลิตแต่ละสาขาอย่าง
               เจาะจง เนื่องจากแม้จะเป็นนโยบายเดียวกัน แต่เมื่อนำไปใช้กับสาขาการผลิตที่ต่างกัน ก็อาจส่งผลกระทบใน

               ลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในการดำเนินนโยบายแบบ uniform กับภาคเกษตรในสาขาต่าง

               ๆ ตัวอย่างเช่น นโยบายการเพิ่มผลิตภาพการผลิต แม้จะมีประสิทธิผลในการเพิ่มสวัสดิการสังคมโดยรวมและ

                                                            จ
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14