Page 10 -
P. 10

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






               การขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่กลับทำให้รายได้ของเกษตรกรในบางสาขาการผลิตลดลง การเพิ่มผลิตภาพการ

               ผลิตในสาขาดังกล่าว ควรทำเฉพาะกลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่ต้องการยกระดับรายได้ โดยไม่ทำให้อุปทานรวม
               ของสินค้าเปลี่ยนแปลง เพื่อมิให้ราคาสินค้าตกต่ำจนทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลง


                       นอกจากนี้ ผลกระทบของนโยบายเกษตรที่มีต่อเป้าหมายการพัฒนาในมิติต่าง ๆ มักมีลักษณะได้อย่าง

               เสียอย่าง (trade off) กล่าวคือนโยบายทำให้เป้าหมายการพัฒนาบางด้านดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้
               เป้าหมายการพัฒนาด้านอื่น ๆ แย่ลง ดังนั้นการกำหนดนโยบายจึงควรคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อเป้าหมายอื่นๆ

               อย่างรอบคอบ อย่างไรก็ตาม ยังมีนโยบายการเกษตรบางกลุ่มที่ส่งผลดีต่อการพัฒนาในลักษณะ Pareto

               Improvement กล่าวคือนโยบายทำให้เป้าหมายการพัฒนาตัวหนึ่งดีขึ้น โดยไม่ทำให้เป้าหมายตัวอื่น ๆ แย่ลง
               นโยบายในกลุ่มนี้ได้แก่ การขยายตลาดส่งออกและการพัฒนาประสิทธิภาพการขนส่งและกระจายสินค้า


                       ข้อจำกัดของงานวิจัยและข้อเสนอแนะงานวิจัยในอนาคต


                       ข้อจำกัดประการหนึ่งของงานวิจัยที่ควรกล่าวถึงในที่นี้คือ ผลการศึกษาที่ได้เป็นผลตามลักษณะข้อ

               สมมติของแบบจำลองซึ่งอาจแตกต่างจากสภาพความเป็นจริง มากน้อยขึ้นอยู่กับกรณีที่สนใจว่าเป็นสาขาใดใน
               ภาคเกษตรและลักษณะของนโยบายเป็นอย่างไร ดังนั้นการนำผลการศึกษาไปใช้จึงควรพิจารณาอย่าง

               ระมัดระวัง โดยพิจารณาว่าในกรณีศึกษาที่สนใจมีลักษณะใดที่แตกต่างจากข้อสมมติของแบบจำลอง หรือมี

               ปัจจัยใดที่แบบจำลองมิได้รวมไว้ และปัจจัยเหล่านั้นส่งผลกระทบอย่างไรและมากน้อยเพียงใด

                       ข้อเสนอแนะงานวิจัยในอนาคตประกอบด้วยการวิเคราะห์ผลกระทบอันเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ของ

               นโยบายการเกษตรแบบต่าง ๆ การวิเคราะห์ต้นทุนของการดำเนินนโยบาย และการวิเคราะห์ผลกระทบของ

               นโยบายการเกษตรเชิงพลวัต ในส่วนของการพัฒนาแบบจำลองเพื่อให้มีความสามารถในการจำลอง

               สถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้นประกอบด้วยการพัฒนาแบบจำลอง CGE แบบรายพื้นที่

               (multi-regional CGE) การพัฒนาพฤติกรรมทางการเงินของเกษตรกรในแบบจำลอง และการเพิ่มเติมปัจจัย

               การผลิตด้านทรัพยากรน้ำในภาคเกษตรเข้าไปในแบบจำลอง

























                                                            ฉ
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15