Page 7 -
P. 7

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






               เกษตรกรเพิ่มขึ้น ในขณะที่บางนโยบายทำให้รายได้เกษตรกรลดลง ส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

               ส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ยกเว้นการเพิ่มมูลค่าสินค้าและการใช้ทุนทดแทนแรงงาน ซึ่งมีแนวโน้มทำให้การ
               ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง


                       การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมีส่วนสำคัญทำให้ปริมาณผลผลิตในตลาดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการเพิ่มปริมาณ

               ผลผลิตในบางสาขา ส่งผลเสียต่อรายได้เกษตรกร รวมถึงความยากจน และการกระจายรายได้ เนื่องจากสาขา
               เหล่านั้นผลิตสินค้าที่มีความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาต่ำ จึงทำให้เมื่อมีเกิดการผลิตที่เพิ่มขึ้น ราคาสินค้า

               ลดลงมากกว่าปริมาณอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้รายได้เกษตรกรลดลง นอกจากนี้ยังทำให้การใช้ปัจจัยการผลิต

               น้อยลง ทำให้เกษตรกรซึ่งเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตได้รับผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิตลดลง ตัวอย่างการ
               เพิ่มผลผลิตแล้วส่งผลเสียดังล่าว เช่น การทำนา พืชไร่อื่น ๆ อ้อย ยางพารา ผลิตผลเกษตรอื่น ๆ เป็นต้น


                       การเพิ่มมูลค่าสินค้าเป็นนโยบายที่ผลดีต่อสาขาการผลิตสินค้าเกษตร แต่ส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโต

               ทางเศรษฐกิจโดยรวม ในขณะที่ผลกระทบต่อความยากจนและการกระจายรายได้จะเป็นบวกหรือลบ ขึ้นอยู่
               กับลักษณะของสาขาว่าเป็นสาขาที่สร้างรายได้ให้แก่คนจนหรือผู้มีรายได้น้อยกว่าโดยเปรียบเทียบมากน้อย

               เพียงไร ดังนั้นนโยบายการเพิ่มมูลค่าสินค้าที่มีลักษณะไม่ได้เพิ่มอรรถประโยชน์ของสินค้าให้กับผู้บริโภค นั่นคือ

               สินค้าไม่มีความแตกต่างอย่างแท้จริงระหว่างการมีและไม่มีตราสินค้า จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจภาพรวม
               มากกว่าผลดี เนื่องจากกระทบต่อราคาสินค้าและผู้บริโภคโดยตรง มีเพียงเกษตรกรที่ได้รับผลประโยชน์เท่านั้น

               การเพิ่มอัตรากำไรสามารถทำได้ในลักษณะของการส่งเสริมเกษตรกรบางรายที่ด้อยโอกาส


                       นโยบายด้านการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคของครัวเรือน กรณีหันมาบริโภคสินค้าเกษตรมากขึ้น
               การแทรกแซงการบริโภคให้หันไปบริโภคสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งอาจทำเศรษฐกิจดีขึ้นแต่สวัสดิการสังคมแย่ลง

               เนื่องจากเป็นการผลักราคาสินค้าชนิดนั้นให้สูง แต่รายได้ของผู้บริโภคแทบจะเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก ส่วนกรณี
               หันมาบริโภคสินค้าเกษตรที่ผลิตภายในประเทศมากขึ้น  ส่วนใหญ่ทำให้ครัวเรือนภาคเกษตรมีรายได้เพิ่มขึ้น

               สถานการณ์การกระจายรายได้มีแนวโน้มดีขึ้น แต่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายด้านอื่น ๆ ในระดับต่ำหรือแทบไม่

               เปลี่ยนแปลง เพราะสินค้าบางประเภทเน้นการนำเข้ามากกว่าที่จะผลิตภายในประเทศ


                       นโยบายด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและกระจายสินค้า มีประสิทธิผลในการลดความยากจน
               และความเหลื่อมล้ำด้านราย และส่งผลดีต่อตัวแปรเป้าหมายการพัฒนาทุกตัว โดยทำให้เศรษฐกิจโดยรวม

               ขยายตัว อัตราเงินเฟ้อลดลง แรงงานและเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และไม่ทำให้ความเข้มข้นของการปล่อย

               ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อ GDP เพิ่มขึ้น การเพิ่มประสิทธิภาพในลักษณะนี้ส่งผลดีทั้งฝั่งผู้ผลิตและผู้บริโภค
               ถือเป็นนโยบายที่มีลักษณะ Pareto Improvement ที่เมื่อดำเนินนโยบายให้คนบางกลุ่มดีขึ้นแล้วไม่ส่งผลเสีย

               ต่อคนกลุ่มอื่น จึงเป็นนโยบายที่ควรผลักดันให้เกิดขึ้น


                       สำหรับนโยบายด้านต่างประเทศเกี่ยวกับการขยายตลาดส่งออก พบว่า ส่งผลดีต่อตัวแปรเป้าหมาย
               การพัฒนาทุกตัว เช่นเดียวกับนโยบายด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและกระจายสินค้า แต่หากพิจารณา



                                                            ค
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12