Page 6 -
P. 6
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ค่าความยืดหยุ่นต่าง ๆ ที่ใช้ในแบบจำลอง CGE ส่วนใหญ่ได้มาจากฐานข้อมูลของแบบจำลอง GTAP
โดยได้สำรวจงานศึกษาในอดีตเพื่อพิจารณาความสอดคล้องกับกรณีของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างในกรณี
ของค่าความยืดหยุ่นของสินค้าต่าง ๆ ในภาคเกษตร เพื่อให้เหมาะสมกับกรณีของประเทศไทยมากที่สุด
ผลการทดสอบความถูกต้องของการพัฒนาแบบจำลองในขั้นตอนต่าง ๆ เช่น การทดสอบ
Homogeneity ของแบบจำลอง การทดสอบ Real Homogeneity ของแบบจำลอง การตรวจสอบการ
เปลี่ยนแปลงของ GDP ด้านรายรับเท่ากับด้านรายจ่าย การตรวจสอบความสมดุลของฐานข้อมูลที่ปรับปรุงใหม่
หลังการจำลองสถานการณ์ และการตรวจสอบการลู่เข้า (convergence) ของผลตอบ พบว่าแบบจำลองผ่าน
การทดสอบในขั้นตอนต่าง ๆ มีความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน
ผู้วิจัยได้นำแบบจำลองมาจำลองสถานการณ์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายเกษตร โดย
ครอบคลุมนโยบายในหมวดต่าง ๆ จำนวนทั้งสิ้น 21 นโยบาย และจำลองสถานการณ์ของการดำเนินนโยบาย
ผสม 1 สถานการณ์ โดยในบางกรณีมีการเพิ่มเติมตัวแปรหรือสมการภายในแบบจำลองเพื่อให้สามารถจำลอง
สถานการณ์บนเงื่อนไขที่กำหนด เช่น การเพิ่มตัวแปร twist เพื่อกำหนดเงื่อนไขของต้นทุนคงที่ (cost
neutral) การเพิ่มตัวแปรเงินโอนจากภาครัฐไปยังเกษตรกรและราคาเป้าหมายของนโยบายประกันรายได้ เป็น
ต้น
ผลการศึกษา
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงขนาดและความแตกต่างของผลกระทบซึ่งเกิดจากนโยบายการเกษตร
แบบต่าง ๆ ที่มีต่อเป้าหมายการพัฒนาในแต่ละมิติ ซึ่งจะเห็นได้ว่าภายใต้บริบทของดุลยภาพทั่วไป ผลกระทบ
ทางอ้อมอาจมีบทบาทสำคัญไม่แพ้ผลกระทบทางตรง นอกจากนี้ผลกระทบของนโยบายเกษตรที่มีต่อเป้าหมาย
การพัฒนาในมิติต่าง ๆ ยังมีลักษณะได้อย่างเสียอย่าง (trade off) รวมทั้งแม้จะเป็นนโยบายเดียวกัน แต่เมื่อ
นำไปใช้กับแต่ละสาขาการผลิต อาจส่งผลกระทบในลักษณะที่แตกต่างกัน การกำหนดนโยบายจึงจำเป็นต้อง
คำนึงถึงความเหมาะสมกับสาขาการผลิตแต่ละสาขาอย่างเจาะจง
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า นโยบายส่วนใหญ่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เสถียรภาพภายในทางเศรษฐกิจ (อัตราเงินเฟ้อลดลง) และทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น แต่
เพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ จึงไม่ทำให้ความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ต่อรายได้ของประเทศโดยรวมเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผลกระทบด้านอื่น ๆ มีความไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับเป็นนโยบาย
ในหมวดใด และนำนโยบายไปใช้ในสาขาการผลิตใด
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่วนใหญ่ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมเติบโต อัตรา
เงินเฟ้อลดลง แต่ก็ทำให้สถานการณ์ความยากจนและการกระจายรายได้แย่ลงหรือไม่แน่นอน (เป็นบวกหรือ
ลบ) ขึ้นอยู่กับนำไปใช้กับสาขาการผลิตใด แรงงานมีรายได้เพิ่มขึ้น การใช้ทุนแทนแรงงานและการเพิ่มอุปทาน
แรงงานซึ่งทำให้แรงงานมีรายได้ลดลง รายได้ของเกษตรกรมีลักษณะไม่แน่นอน บางนโยบายทำให้รายได้
ข