Page 8 -
P. 8

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






               นโยบายการลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรพบว่า ส่งผลดีต่อตัวแปรเป้าหมายการพัฒนาต่าง ๆ แต่ส่งผลเสียต่อการ

               กระจายรายได้ และไม่ส่งผลกระทบต่อความยากจนอย่างมีนัยสำคัญ  ในขณะที่การลดอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีของ
               สินค้าเกษตรส่งผลดีต่อตัวแปรเป้าหมายการพัฒนาต่าง ๆ แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อการกระจายรายได้อย่างมี

               นัยสำคัญ


                       ในด้านนโยบายอุดหนุนภาคเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้ของเกษตรกร นโยบายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดใน
               การเพิ่มรายได้เกษตรกร ได้แก่ นโยบายการประกันรายได้แบบจำกัดปริมาณผลผลิต โดยทำให้เกษตรกรมี

               รายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าจำนวนเงินที่ใช้ในการอุดหนุน ในขณะที่นโยบายการอุดหนุนปัจจัยการผลิต และการ

               ประกันราคาผลผลิต (แบบรับประกันผลผลิตทั้งหมด) เงินอุดหนุนเพียงร้อยละ 50-60 มีผลในการเพิ่มรายได้
               ของเกษตรกร ในขณะที่เงินอุดหนุนที่เหลือกลายเป็นสวัสดิการสังคมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเปรียบเสมือนการอุดหนุนผู้ใช้

               สินค้าเกษตร ซึ่งรวมถึงผู้ใช้สินค้าในต่างประเทศด้วย แม้ผลการวิเคราะห์จะแสดงให้เห็นว่านโยบายประกัน
               รายได้มีประสิทธิภาพในการอุดหนุนเกษตรกรมากที่สุด แต่นโยบายก็อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของสินค้า

               เกษตร โดยทำให้สินค้าที่ใช้นโยบายประกันรายได้มีคุณภาพลดลงเนื่องจากเกษตรกรขาดแรงจูงใจในการผลิต

               สินค้าที่มีคุณภาพ เนื่องด้วยไม่ว่าจะผลิตสินค้าด้วยคุณภาพอย่างไรเกษตรกรยังคงมีรายได้ในราคาประกัน
               แม้ว่าภาครัฐอาจใช้วิธีตรวจสอบคุณภาพสินค้าเพื่อกำหนดเงินชดเชยรายได้ให้แก่เกษตรกรตามคุณภาพของ

               สินค้า แต่การตรวจสอบคุณภาพสินค้าดังกล่าวทำได้ยากและมีต้นทุนการดำเนินงานที่สูง ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า

               แม้ว่านโยบายนี้จะมิได้แทรกแซงกลไกตลาด แต่ก็ส่งผลทำให้กลไกตลาดทำงานได้ไม่สมบูรณ์ และอาจส่งผล
               กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของของสินค้าเกษตรของประเทศในระยาว หากมีการดำเนินนโยบาย

               อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน เนื่องจากไม่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรหรือแม้กระทั่งทำให้
               คุณภาพสินค้าเกษตรลดลง ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้


                       ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย


                       จากผลการศึกษาที่ได้ทำให้ทราบถึงทิศทางและขนาดคร่าว ๆ ของผลกระทบของนโยบายการเกษตร

               แบบต่างๆ หากตั้งเป้าหมายที่การทำให้เศรษฐกิจเกิดการเติบโต และประชาชนโดยภาพรวมอยู่ดีกินดี (ทั้ง
               ประชาชนในภาคเกษตร และนอกภาคเกษตร) จะสามารถจัดกลุ่มนโยบายที่ควรมีการส่งเสริมดังนี้ (ลำดับ

               ความสำคัญในการดำเนินนโยบายจะเรียงตามกลุ่มที่จัดทำขึ้น)


                       กลุ่มที่ 1 นโยบายที่ต้องทำ คือกลุ่มนโยบายที่มีขนาดผลกระทบเศรษฐกิจที่สูง และสร้างผลกระทบที่

               ดีต่อทุก ๆ เป้าหมายการพัฒนา นั่นคือ นโยบายด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและกระจายสินค้า เพราะ
               เป็นนโยบายที่มีลักษณะ Pareto Improvement ที่ทำให้คนบางกลุ่มดีขึ้น ในขณะที่ไม่ส่งผลเสียต่อคนกลุ่มอื่น

               (สวัสดิการสังคมเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจขยายตัว อัตราเงินเฟ้อลดลง เกษตรกรรายได้ดีขึ้น) นโยบายที่มีลักษณะนี้
               เช่น การพัฒนาระบบขนส่งสินค้าโลจิสติกส์ การพัฒนาระบบตลาดการค้าขายสินค้าเกษตร เป็นต้น







                                                            ง
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13