Page 12 -
P. 12

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                       การเพิ่มมูลค่าสินค้าเป็นนโยบายที่มีผลดีต่อสาขาการผลิตสินค้าเกษตร แต่ส่งผลเสียต่อการ

               เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวม และมีผลทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ดังนั้นนโยบายการเพิ่มมูลค่าสินค้าที่มี
               ลักษณะไม่ได้เพิ่มอรรถประโยชน์ของสินค้าอย่างแท้จริงให้กับผู้บริโภค จะเกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจภาพรวม

               มากกว่าผลดี เนื่องจากกระทบต่อราคาสินค้าและผู้บริโภคโดยตรง มีเพียงเกษตรกรที่ได้รับผลประโยชน์ การ

               เพิ่มอัตรากำไรจึงสามารถทำได้ในลักษณะของการส่งเสริมเกษตรกรบางรายที่ด้อยโอกาส

                       นโยบายด้านการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคของครัวเรือน กรณีหันมาบริโภคสินค้าเกษตรมากขึ้น

               การแทรกแซงการบริโภคให้หันไปบริโภคสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งอาจทำเศรษฐกิจดีขึ้นแต่สวัสดิการสังคมแย่ลง
               เนื่องจากเป็นการผลักราคาสินค้าชนิดนั้นให้สูง แต่รายได้ของผู้บริโภคเกือบจะไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนกรณีหันมา

               บริโภคสินค้าเกษตรที่ผลิตภายในประเทศมากขึ้น ผลกระทบอยู่ในระดับต่ำหรือแทบไม่เปลี่ยนแปลง เพราะ

               สินค้าบางประเภทเน้นการนำเข้ามากกว่าจะผลิตภายในประเทศ

                       นโยบายด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและกระจายสินค้าเกษตร มีประสิทธิผลในการลดความ

               ยากจนและความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ และส่งผลดีต่อตัวแปรเป้าหมายการพัฒนาทุกตัว โดยทำให้เศรษฐกิจ
               โดยรวมขยายตัว อัตราเงินเฟ้อลดลง แรงงานและเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น การเพิ่มประสิทธิภาพลักษณะนี้จะ

               เกิดผลดีต่อทั้งฝั่งผู้ผลิตและผู้บริโภค ถือเป็นนโยบายที่มีลักษณะ Pareto Improvement ซึ่งการดำเนิน

               นโยบายทำให้คนบางกลุ่มดีขึ้นแต่ไม่ส่งผลเสียต่อคนกลุ่มอื่น ดังนั้นจึงเป็นนโยบายที่ควรมีการผลักดันให้เกิดขึ้น
               เป็นอันดับแรก


                       นโยบายด้านต่างประเทศเกี่ยวกับการขยายตลาดส่งออก พบว่า ส่งผลดีต่อตัวแปรเป้าหมายการพัฒนา
               ทุกตัว เช่นเดียวกับนโยบายด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและกระจายสินค้า แต่หากพิจารณานโยบาย

               การลดอุปสรรคการนำเข้าสินค้าเกษตรพบว่า ส่งผลดีไม่เทียบเท่ากับกรณีขยายตลาดส่งออก


                       นโยบายด้านอุดหนุนภาคเกษตร นโยบายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการเพิ่มรายได้เกษตรกร คือ
               นโยบายการประกันรายได้แบบจำกัดปริมาณผลผลิต โดยทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าจำนวนเงินที่

               ใช้ในการอุดหนุน ในขณะที่นโยบายการอุดหนุนปัจจัยการผลิต และการประกันราคาผลผลิต (แบบรับประกัน

               ผลผลิตทั้งหมด) เงินอุดหนุนเพียงร้อยละ 50-60 มีผลในการเพิ่มรายได้ของเกษตรกร ในขณะที่เงินอุดหนุนที่
               เหลือเปรียบเสมือนการอุดหนุนผู้ใช้สินค้าเกษตร ซึ่งรวมถึงผู้ใช้สินค้าในต่างประเทศด้วย อย่างไรก็ดีการประกัน

               รายได้ควรกระทำในระยะสั้นเท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดผลต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรไทยใน
               ระยะยาว


                       นโยบายต่าง ๆ เหล่านี้ยังสามารถถูกใช้ในลักษณะของนโยบายผสม (policy mix) เพื่อที่จะทำให้ผล

               กระทบเชิงบวกสูงมากขึ้น เช่น การขยายการส่งออก พร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งและกระจาย
               สินค้า หรือลดผลกระทบเชิงลบบางประการโดยให้อีกนโยบายหนึ่งช่วยสนับสนุน เช่น การเพิ่มผลิตภาพ พร้อม

               กับขยายส่งออก เพื่อให้ผลกระทบต่อราคาสินค้าไม่ลดลงมากผ่านการเพิ่มอุปสงค์ให้สูงขึ้น เป็นต้น




                                                            ซ
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17