Page 11 -
P. 11

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                                                        บทคัดย่อ




                       งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายในการวัดขนาดผลกระทบของนโยบายการเกษตรในรูปแบบต่าง ๆ ในลักษณะ

               ของการประเมินไปข้างหน้า (ex ante) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการประมาณการ
               ผลกระทบของนโยบายการเกษตรที่สนใจ ที่มีต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ทั้งในมิติของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

               เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน ความยากจน และการกระจายรายได้ รวมทั้งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม


                       นโยบายการเกษตรที่ทำการวิเคราะห์เป็นนโยบายเกษตรในระดับตัวแปรนโยบายพื้นฐาน เพื่อให้
               สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับนโยบายเกษตรที่มีความเจาะจงมากขึ้นได้อย่างครอบคลุม นโยบายดังกล่าว

               ครอบคลุมตั้งแต่นโยบายด้านการผลิต ปัจจัยการผลิต การขนส่งและกระจายสินค้า การบริโภค การนำเข้า

               ส่งออก และการอุดหนุนในภาคเกษตร

                       เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์คือแบบจำลองดุลยภาพทั่วไป (Computable General Equilibrium

               Model: CGE) ซึ่งเป็นแบบจำลองประเภทเศรษฐกิจโดยรวมประเภทหลายสาขา โดยนำไปเชื่อมโยงกับ

               แบบจำลองจุลภาคครัวเรือน (Household Microsimulation) เพื่อวัดผลกระทบที่มีต่อความยากจน การ
               กระจายรายได้ และครัวเรือนเกษตรกร ฐานข้อมูลของแบบจำลองจุลภาคครัวเรือนได้มาจากข้อมูลการสำรวจ

               ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ส่วนฐานข้อมูลที่สำคัญของแบบจำลอง CGE ได้มาจากตารางปัจจัยการ
               ผลิตผลผลิตปี 2553 โดยผู้วิจัยได้ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปี 2560 โดยใช้ข้อมูลบัญชีรายได้ประชาชาติ และใช้

               แนวทางของการปรับสเกล (Scaling Approach) ด้วยวิธี Maximum Entropy เพื่อลดค่าผิดพลาดให้ต่ำสุด


                       ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงขนาดและความแตกต่างของผลกระทบซึ่งเกิดจากนโยบายการเกษตร
               แบบต่าง ๆ ที่มีต่อเป้าหมายการพัฒนาในแต่ละมิติ ซึ่งจะเห็นได้ว่าภายใต้บริบทของดุลยภาพทั่วไป ผลกระทบ

               ทางอ้อมอาจมีบทบาทสำคัญไม่แพ้ผลกระทบทางตรง นอกจากนี้ผลกระทบของนโยบายเกษตรที่มีต่อเป้าหมาย

               การพัฒนาในมิติต่าง ๆ ยังมีลักษณะได้อย่างเสียอย่าง (trade off) รวมทั้งแม้จะเป็นนโยบายเดียวกัน แต่เมื่อ
               นำไปใช้กับแต่ละสาขาการผลิต อาจส่งผลกระทบในลักษณะที่แตกต่างกัน การกำหนดนโยบายจึงจำเป็นต้อง

               คำนึงถึงความเหมาะสมกับสาขาการผลิตแต่ละสาขาอย่างเจาะจง

                       นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการการผลิต และปัจจัยการผลิตที่ให้ผลด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

               ส่วนใหญ่ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมเติบโต อัตราเงินเฟ้อลดลง แต่ก็ทำให้สถานการณ์ความยากจนและการ

               กระจายรายได้แย่ลงหรือไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับนำไปใช้กับสาขาการผลิตใด การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมีส่วน
               สำคัญทำให้ปริมาณผลผลิตในตลาดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการเพิ่มปริมาณผลผลิตในบางสาขา ส่งผลเสียต่อรายได้

               เกษตรกร รวมถึงความยากจน และการกระจายรายได้ เนื่องจากสาขาเหล่านั้นผลิตสินค้าที่มีความยืดหยุ่นของ
               อุปสงค์ต่อราคาต่ำ จึงทำให้เมื่อมีการผลิตเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าลดลงมากกว่าปริมาณอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้

               รายได้เกษตรกรลดลง ตัวอย่างเช่น การทำนา พืชไร่อื่น ๆ อ้อย ยางพารา ผลิตผลเกษตรอื่น ๆ เป็นต้น




                                                            ช
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16