Page 5 -
P. 5

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                                                    บทสรุปผู้บริหาร




                       งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายในการวัดขนาดผลกระทบของนโยบายการเกษตรในรูปแบบต่าง ๆ ในลักษณะ

               ของการประเมินไปข้างหน้า (ex ante) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการประมาณการ
               ผลกระทบของนโยบายการเกษตรที่สนใจ ที่มีต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ทั้งในมิติของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

               เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน ความยากจน และการกระจายรายได้ รวมทั้งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

               นโยบายการเกษตรที่ทำการวิเคราะห์เป็นนโยบายเกษตรในระดับตัวแปรนโยบายพื้นฐาน เพื่อให้สามารถนำไป
               ประยุกต์เข้ากับนโยบายเกษตรที่มีความเจาะจงมากขึ้นได้อย่างครอบคลุม นโยบายดังกล่าวครอบคลุมตั้งแต่

               นโยบายด้านการผลิต ปัจจัยการผลิต การขนส่งและกระจายสินค้า การบริโภค การนำเข้าส่งออก และการ

               อุดหนุนในภาคเกษตร


                       เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์คือแบบจำลองดุลยภาพทั่วไป (Computable General Equilibrium
               Model: CGE) ซึ่งเป็นแบบจำลองประเภทเศรษฐกิจโดยรวมประเภทหลายสาขา โดยนำไปเชื่อมโยงกับ

               แบบจำลองจุลภาคครัวเรือน (Household Microsimulation) เพื่อวัดผลกระทบที่มีต่อความยากจน การ
               กระจายรายได้ และครัวเรือนเกษตรกร แบบจำลอง CGE ที่นำมาใช้ได้แก่ แบบจำลอง ORANI-G ซึ่งเป็น

               แบบจำลอง CGE ที่ประยุกต์มาจากแบบจำลอง CGE ของประเทศออสเตรเลีย (แบบจำลอง ORANI) เพื่อให้

               สามารถวิเคราะห์เศรษฐกิจในกรณีเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ จำนวนสาขาการผลิตของแบบจำลอง CGE มี
               จำนวน 179 สาขาตามจำนวนสาขาการผลิตของตาราง IO นอกจากนี้ผู้วิจัยได้พัฒนาแบบจำลองจุลภาค

               ครัวเรือนเพื่อจำลองพฤติกรรมของครัวเรือนในระดับจุลภาค โดยใช้ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคม
               ของครัวเรือน (SES) ปี 2560 เป็นฐานข้อมูลหลักของแบบจำลอง โดยมีจำนวนครัวเรือนตัวอย่างในแบบจำลอง

               ทั้งสิ้น 43,210 ครัวเรือน ซึ่งเป็นตัวแทนของครัวเรือนทั้งประเทศประมาณ 24 ล้านครัวเรือน หลังจากนั้นจึง

               พัฒนาสมการเพื่อเชื่อมโยงแบบจำลองจุลภาคครัวเรือนเข้ากับแบบจำลอง CGE


                       ในส่วนของฐานข้อมูลของแบบจำลอง CGE ผู้วิจัยได้ปรับปรุงฐานข้อมูลตาราง IO ให้ทันสมัย โดย
               ปรับปรุงจากข้อมูลตาราง IO ปี 2553 ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดที่มีการเผยแพร่ให้เป็นตาราง IO ปี 2560 ด้วย

               แนวทางการปรับสเกล (Scaling Approach) โดยใช้วิธี Maximum Entropy เพื่อปรับสมดุลของตารางเพื่อลด
               ความผิดพลาดของตาราง IO ให้มีค่าต่ำสุด ข้อมูลที่ใช้ในการปรับปรุงตาราง IO ได้แก่ ข้อมูลรายได้ประชาชาติ

               ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลเศรษฐกิจมหภาค เช่น การบริโภค การลงทุน การนำเข้าส่งออก รายได้ภาษี ฯลฯ รวมทั้ง

               ข้อมูล GDP รายสาขา โดยทำการเชื่อมโยงข้อมูล GDP รายสาขาจำนวน 81 สาขาของข้อมูลรายได้ประชาชาติ
               มายัง GDP ของตาราง IO จำนวน 179 สาขา นอกจากนั้นยังได้เชื่อมโยงแบบจำลอง CGE เข้ากับข้อมูล

               ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งได้มาจากฐานข้อมูล GTAP เพื่อวัดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของ
               นโยบายในเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์






                                                            ก
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10