Page 174 -
P. 174
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
174
triple shooting การใส่ปุ๋ยสามชนิด : การใส่ปุ๋ย 3 ชนิดใต้ผิวดินเป็น 3 แถบแยกจากกัน วิธีนี้ใช้กับการใส่ปุ๋ยที่มี
สมบัติเข้ากันไม่ได้ (incompatible materials) โดยปล่อยปุ๋ยผ่านท่อนําปุ๋ยสามท่อแยกกัน เช่น แอมโมเนีย
ปราศจากนํ้า พอลิฟอสเฟต (หรือปุ๋ยผสมชนิดอื่น) และแอมโมเนียมพอลิซัลไฟด์
triple superphosphate ทริบเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต : ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตเข้มข้นสูตร 0-46-0 เรียกว่า treble
superphosphate ก็ได้ ดูคําอธิบายใน superphosphate
triuret ไตรยูเร็ต : ปุ๋ยไนโตรเจนชนิดละลายช้าซึ่งมีสูตร NH CONHCONHCONH ผลิตจากยูเรียไฮโดรคลอ
2
2
ไรด์
tropism การเบนตอบสนอง : การเจริญเติบโตของพืชที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า โดยโค้งส่วนปลายไปหาหรือหนีจากสิ่งเร้า
ปรากฏการณ์นี้เกิดจากการควบคุมระดับฮอร์โมนในส่วนดังกล่าว (topos, G แปลว่าหัน) แคลเซียมมีบทบาทสําคัญ
ในเรื่องนี้
true density ความหนาแน่นแท้จริงของของแข็ง: ความหนาแน่นซึ่งหาได้จากการนํานํ้าหนักของของแข็งนั้นมาหาร
ด้วยปริมาตร สําหรับปริมาตรก็หาได้โดยการนําของแข็งนั้นไปใส่ในของเหลวที่ไม่ละลายของแข็งนั้น ปริมาตรของ
ของเหลวที่เพิ่มขึ้นจะเท่ากับปริมาตรของของแข็ง ใช้หน่วยกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร (มีความหมายเหมือนกับ
particle density หรือความหนาแน่นอนุภาค)
tryptophane ทริปโทเฟน: กรดอะมิโนที่เป็นสารตั้งต้นของการสังเคราะห์กรดอินโดล-3-แอซิติก (indole-3-acetic
acid) ซึ่งเป็นออกซินชนิดหนึ่ง สังกะสีมีบทบาทในการสังเคราะห์ทริปโทเฟน จากนั้นทริปโทเฟนจึงเปลี่ยนเป็น อิน
โดล-3-แอซิทาลดีไฮด์ แล้วต่อไปเป็นกรดอินโอล-3-แอซิติก
TSPP: อักษรย่อของ tetrasodium pyrophosphate (เตตราโซเดียมไพโรฟอสเฟต)
tubulin ทูบูลิน : โปรตีนรูปทรงกลมอันเป็นโครงสร้างของไมโครทูบูล
turbidity of solution ความขุ่นของสารละลาย : ความเข้มข้นของอนุภาคที่แขวนลอยในของเหลว เช่น ดินเหนียว
ทรายแป้ง ชิ้นส่วนหรือเซลล์ของจุลินทรีย์ วัดความขุ่นของสารละลายจากปริมาณแสงที่ผ่านสารละลายนั้น ซึ่งความ
ขุ่นจะเป็นปฏิภาคผันกลับกับความเข้มของแสงที่ผ่านของเหลว หากมีสารแขวนลอยมาก (ขุ่นมาก) สารเหล่านั้นจะ
ดูดแสงไว้มาก ทําให้แสงผ่านได้น้อย เครื่องมือที่ใช้วัดเรียกว่ามาตรความขุ่น (turbidimeter)
turgor ตวามเต่ง : สภาพที่เซลล์พองหรือผนังเซลล์ตึงเนื่องจากมีนํ้าเต็ม
turgor pressure ความดันเต่ง : แรงที่ดันให้ผนังเซลล์ตึงเนื่องจากเซลล์ดูดนํ้าเข้าไปเต็มที่ แรงดันเต่งซึ่งเกิดขึ้นใน
โฟลเอ็มของเส้นใบ เป็นแรงผลักให้สารอาหารเคลื่อนย้ายไปยังปลายทางอันเป็นที่รับอาหาร (sink)
…………………………………………………………