Page 179 -
P. 179

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               179





                                                               W



                    water holding capacity: ปริมาณนํ้าสูงสุดที่ดินสามารถดูดซับไว้ได้ หลังจากการระบายนํ้าหยุดลง เป็นพิกัดสูงสุด

                      ของนํ้าในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เรียกว่าความจุความชื้นสนาม (field capacity, FC) หากลบ FC ด้วยความชื้น

                      ดินที่จุดเหี่ยวถาวร (permanent wilting percentage, PWP) จะได้ความจุความชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
                      (AWC) หรือ AWC = FC-PWP

                    water insoluble nitrogen (WIN)  ไนโตรเจนไม่ละลายนํ้า : ดูคําอธิบายใน activity of water insoluble N in
                      mixed fertilizers

                    waterlogging นํ้าท่วมขัง: สภาพซึ่งระดับนํ้าใต้ดินอยู่ใกล้ระดับผิวดิน หรือนํ้าส่วนเกินปริมาณมาก ไม่สามารถ
                      ระบายออกไปจากพื้นที่ เนื่องจากมีชั้นดานขัดขวางการซึมนํ้า ดินจึงชุ่มนํ้าหรือขังนํ้าในช่วงเวลานานพอที่จะ

                      เปลี่ยนแปลงสมบัติที่สําคัญของดิน

                    water potential, cell ศักดิ์นํ้าของเซลล์ : ผลรวมของศักย์ออสโมซิส (osmotic potential) กับศักย์ความดัน
                      (pressure potential) ของเซลล์ เมื่อเทียบกับศักย์นํ้าในดินแล้วบอกได้ว่านํ้าจะมีทิศทางเคลื่อนที่จากสารละลายดิน

                      เข้าไปในเซลล์ หรือจากในเซลล์ออกมาภายนอก

                    water soluble phosphate  ฟอสเฟตละลายนํ้าได้ : ส่วนของฟอสเฟตในปุ๋ยซึ่งละลายได้เมื่อสกัดด้วยนํ้าตามวิธี
                      มาตรฐาน

                    water soluble phosphate content   ปริมาณฟอสเฟตละลายนํ้าได้  : ปริมาณฟอสเฟตในปุ๋ยส่วนที่สกัดได้ด้วย

                      นํ้า ใช้หน่วยความเข้มข้น %P O
                                            2 5
                    weight percent on sieve (WPS)  ร้อยละของอนุภาคบนตะแกรง : ผลการวิเคราะห์การกระจายของขนาดอนุภาค

                      โดยใช้ตะแกรงมาตรฐาน  แสดงร้อยละของนํ้าหนักตัวอย่างที่ค้างบนตะแกรงนั้น
                    wet process  กระบวนการแบบเปียก : กระบวนการผลิตกรดออโทฟอสฟอริกโดยใช้หินฟอสเฟตกับกรดซัลฟิวริก

                      เป็นวัตถุดิบ

                    wet process phosphoric acid  กรดออโทฟอสฟอริกจากกระบวนการแบบเปียก : กรดออโทฟอสฟอริกซึ่งผลิต
                      จากปฏิกิริยาระหว่างหินฟอสเฟตกับกรดซัลฟิวริก

                    wood ash  เถ้าไม้ : เถ้าของไม้ยืนต้นซึ่งประกอบด้วยเถ้า โพแทสเซียมออกไซด์และออกไซด์ธาตุที่เป็นเบสอีกหลาย
                      ธาตุ

                                                   ……………………………………………
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184