Page 177 -
P. 177
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
177
V
vacuoles แวคิวโอล : เวสิเคิล (vesicle) ขนาดใหญ่ของเซลล์พืช เมื่อโตเต็มที่อาจครองปริมาตรของเซลล์ถึง 80% มี
เยื่อล้อมรอบ เยื่อมีโปรตีนขนส่งชนิดต่างๆคอยควบคุมการเข้าออกของสาร ทําหน้าที่เก็บสารอินทรีย์ สํารองธาตุ
อาหารเพื่อระบบรักษาธํารงดุล (homeostasis) ของธาตุอาหารภายในเซลล์ ควบคุมศักย์ออสโมซิสของเซลล์
(vacu-,L: ว่าง)
valinomycin วาลิโนมายซิน : สารปฏิชีวนะซึ่งผลิตโดย Streptomyces fulvissimus ใช้สําหรับการขนส่ง
โพแทสเซียม วาลิโนมายซินประกอบด้วย 3 โมเลกุลย่อย (L-valine, D-a-hydroxyisovaleric acid, L-lactic
acid) ซึ่งจัดโครงรูปเป็นกรงครอบหรือห่อหุ้มโพแทสเซียมไอออน (K ) กลายเป็นโครงสร้างใหม่ที่สามารถแพร่ผ่าน
+
เยื่อได้ มีการใช้วาลิโนมายซินในการศึกษาด้านการขนส่งโพแทสเซียม
VAM : อักษรย่อของ vesicular arbuscular mycorrhiza ดูรายละเอียดใน VA-mycorrhiza
vanadium (V) วาเนเดียม: ธาตุลําดับที่ 23 ของตารางพีริออดิก เป็นโลหะทรานซิชัน มีสมบัติคล้ายโมลิบดีนัม มี
ความสําคัญต่อพืช 2 ด้าน คือ เป็นธาตุเสริมประโยชน์ของบางพืชเมื่อได้รับในความเข้มข้นตํ่า รูปที่เซลล์พืชที่ดูด
ส่วนมากคือวานาเดตไอออน (VO ) แต่ถ้ามีธาตุนี้ในวัสดุปลูกมากจะเป็นพิษ
-
3
variable-rate application การใส่ปุ๋ยต่างอัตรา: การใส่ปุ๋ยในพื้นที่โดยเปลี่ยนอัตราปุ๋ยในแต่ละบริเวณให้สอดคล้อง
ความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีการปรับอัตราปุ๋ยที่อุปกรณ์ในรถปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่องโดยอาศัย 4 อย่าง คือ (1)
แผนที่ดิน (2) ภาพถ่ายทางอากาศแบบ infrared photographs และ/หรือ (3) แผ่นที่แบ่งเป็นตารางย่อยซึ่งแสดง
การจําแนกแยกแยะชนิดดินและสมบัติทางกายภาพของดิน และ (4) ข้อมูลผลการวิเคราะห์ตัวอย่างดินที่เก็บจาก
แต่ละบริเวณอย่างละเอียดตามการจําแนกดินซึ่งปรากฏในแผนที่
vascular bundle กลุ่มท่อลําเลียง : ไซเล็มและโฟลเอ็มในพืชซึ่งมีลักษณะการจัดเรียงเนื้อเยื่อเป็นกลุ่มมีเซลล์
พาเรงคิมาและไฟเบอร์สอดแทรกอยู่ด้วย
vascular cambium แคมเบียมท่อลําเลียง : เนื้อเยื่อเจริญทุติยภูมิทําหน้าที่สร้างไซเล็มทุติยภูมิและโฟลเอ็มทุติยภูมิ
(cambire, L: แลกเปลี่ยน)
verdete เวอเดต : ซิลต์สโตนซึ่งมีอิลไลต์ กลูโคไนต์และฟอสฟอไรต์เป็นองค์ประกอบ เมื่อนํามาบดก็ใช้เป็นปุ๋ยที่ให้
ธาตุฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมได้
vermicompost ปุ๋ยหมักจากไส้เดือน : ปุ๋ยหมักที่ได้จากการให้ไส้เดือนกินสารอินทรีย์ต่างๆ ได้ปุ๋ยหมักซึ่งส่วนใหญ่
คือมูลไส้เดือน องค์ประกอบด้านธาตุอาหารขึ้นอยู่กับชนิดของสารที่เป็นอาหารไส้เดือน
vermicomposting การผลิตปุ๋ยหมักจากไส้เดือน : กระบวนการการผลิตปุ๋ยหมักโดยให้ไส้เดือนย่อยสารอินทรีย์
ประกอบด้วยการเลือกชนิดของไส้เดือนที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสารอินทรีย์ และมีจํานวนเพียงพอ การเตรียม
พื้นหลุมหรือกองที่มีขนาดพอเหมาะ ซึ่งประกอบด้วยวัสดุผสมที่ไส้เดือนชอบอยู่ การจัดชั้นของสารอินทรีย์ที่จะให้
ไส้เดือนย่อย สลับกันระหว่างมูลสัตว์ผสมกับวัสดุอื่น ให้ความชื้นเหมาะสม