Page 176 -
P. 176
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
176
urea-formaldehyde reaction products (urea-form) ผลิตภัณฑ์ยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ (ยูเรียฟอร์ม) : ปุ๋ย
ไนโตรเจนชนิดหนึ่งซึ่งละลายในนํ้าอย่างช้า ๆ จึงค่อยๆปลดปล่อยไนโตรเจนให้แก่พืช ผลิตได้จากปฏิกิริยาระหว่าง
ยูเรียกับฟอร์มาลดีไฮด์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้ประกอบด้วย methylene urea หลายชนิด มีทั้งสารประกอบไนโตรเจน
ที่ละลายนํ้าได้ และละลายนํ้าไม่ได้แต่เป็นประโยชน์อย่างช้า ๆ ยอมให้มียูเรียอิสระในปุ๋ยได้ไม่เกิน 55% นอกนั้น
เป็นสารประกอบ methylolureas, methylolurea ethers และ/หรือ methylenediurea (MDU) และ
dimethylenetriurea (DMTU)
urea nitric phosphate ยูเรียไนทริกฟอสเฟต : ปุ๋ยไนทริกฟอสเฟตที่ใช้ยูเรียร่วมในกระบวนการผลิต ใน
กระบวนการที่ใช้หินฟอสเฟต กรดไนทริกและยูเรียเป็นวัตถุดิบ ได้ปุ๋ยเกรด 27-9-0 โดยที่ฟอสเฟตซึ่งมีอยู่ทั้งหมด
ละลายนํ้าได้ ยูเรียในปุ๋ยนอกจากจะให้ธาตุไนโตรเจนแล้ว ยังทําหน้าที่เป็น adducting agent ก่อให้เกิด adduct
หลายชนิดคือ Ca(NO ) . 4CO(NH ) , CO(NH ) .HNO , CO(NH ) .H PO และ Ca(H PO )(NO ). CO(NH )
4
2
2 2
3 2
2 2
4
2 2
3
2 2
3
3
(ดู adduct ประกอบ)
urea phosphate (UP) ยูเรียฟอสเฟต : ปุ๋ยซึ่งมีสูตรเคมี CO(NH ) .H PO ผลิตได้จากปฏิกริยาระหว่างยูเรียกับ
3
2 2
4
กรดฟอสฟอริก
urea synthesis การสังเคราะห์ยูเรีย: กระบวนการผลิตยูเรียจากแอมโมเนียกับคาร์บอนไดออกไซด์ ภายใต้อุณหภูมิ
และความดันสูง ได้ยูเรียเหลว แล้วทําเป็นเม็ดด้วยกระบวนการพริลลิ่ง (prilling) ได้ prilled urea หรือ
กระบวนการปั้นเม็ดได้ granular urea
urease ยูรีแอส : เอนไซม์ซึ่งช่วยเร่งปฏิกิริยาแยกสลายด้วยนํ้า (hydrolysis) ของยูเรีย ได้แอมโมเนียมคาร์บอเนต
ซึ่งแตกตัวต่อไปให้แอมโมเนีย คาร์บอนไดออกไซด์และนํ้า มีธาตุนิกเกิล (Ni) เป็นโคแฟคเตอร์ เป็นเอนไซม์ของ
จุลินทรีย์ดินหลายชนิดและพืชต่างๆ โดย (1) จุลินทรีย์ดินใช้สลายปุ๋ยยูเรียที่ใส่ในดินได้แอมโมเนียมไอออนซึ่งพืช
ใช้ประโยชน์ได้ และ (2) พืชใช้สลายยูเรียที่รากหรือใบดูดได้ ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกในการใช้ประโยชน์ยูเรียของเซลล์
พืช
urease inhibitor ตัวยับยั้งยูรีแอส : ตัวยับยั้งซึ่งใส่ร่วมกับปุ๋ยยูเรียเพื่อลดอัตราปฏิกิริยาแยกสลายด้วยนํ้าของปุ๋ย
เช่น hydroquinone, benzoquinone, thiourea และ phenylurea
ureide ยูรีไอด์ : สารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจนโมเลกุลเล็ก เช่น แอลแลนทอย (allantoin) และกรดแอลแลนโทอิก
(allantoic acid) ซึ่งสังเคราะห์ขึ้นในปมรากถั่ว อันเป็นผลจากการตรึงไนโตรเจนของไรโซเบียม แล้วเคลื่อนย้ายทาง
ไซเล็มขึ้นไปเก็บหรือใช้ประโยชน์ที่ส่วนเหนือดิน
uric acid กรดยูริก (C H N O ) : กรดอินทรีย์ซึ่งมีลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายนํ้ายากมากพบในมูลสัตว์ปีก เมื่ออยู่
5 4 4 3
ในดินจะสลายตัว และให้ไนโตรเจนรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
…………………………………………………..