Page 171 -
P. 171

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               171





                    thylakoids ไทลาคอยด์ : โครงสร้างย่อยภายในคลอโรพลาสต์ รูปร่างเป็นแผ่นกลมหนาคล้ายเขียง มีเยื่อหุ้มโดยรอบ
                      วางซ้อนกันเป็นกองแต่ละกองเรียกว่ากรานัม (granum, พหูพจน์เรียกว่า grana) ล้อมรอบด้วยของเหลวเรียกว่าสะ

                      โทรมา (stroma) ซึ่งเป็นที่เกิดของวัฏจักรเครบส์ (Krebs cycle) แต่ละกรานัมมีเยื่อเชื่อมโยงเรียกว่า stroma

                      lamella เยื่อหุ้มไทลาคอยด์มีกลุ่มของโมเลกุลคลอโรฟิลล์และสารสีซึ่งทําหน้าที่รับพลังงานแสง แล้วเปลี่ยนเป็น
                      พลังงานในรูปการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอน โดยจัดหน่วยการสังเคราะห์แสงที่สมบูรณ์ อันประกอบด้วยระบบแสง I

                      (photosystem I) และระบบแสง II (photosystem II) หน่วยการสังเคราะห์แสงนี้กระจายอยู่ทั่วเยื่อหุ้มไทลาคอยด์
                      ธาตุอาหาร 12 ธาตุทําหน้าที่ในการสังเคราะห์แสงที่คลอโรพลาสต์

                    tillage, conservation การไถพรวนแบบอนุรักษ์ : การไถพรวนดินเพื่อการปลูกพืชที่กําหนดให้ผิวดินอย่างน้อย

                      30% มีเศษซากพืชปกคลุมภายหลังที่ได้ปลูกพืชแล้วเพื่อป้องกันการกร่อนดิน (soil erosion) มี 3 วิธีได้แก่  (1)
                      No-till ไม่ไถพรวนแต่เปิดหน้าดินเป็นแนวเพียงพอแก่การหยอดเมล็ด (2) Ridge-till รบกวนดินน้อยที่สุด ปลูกพืช

                      บนร่องที่เตรียมตามความจําเป็น และ (3) Mulch-till ไถพรวนให้มีซากพืชคลุมดิน
                    tillage, conventional การไถพรวนแบบธรรมดา : ระบบการเตรียมดินที่มีทั้งไถ พรวน คราดดินและปรับระดับ

                      ก่อนปลูกพืช  การไถพรวนระบบนี้มิได้มีแบบแผนที่แน่นอน  แตกต่างกันไปตามท้องถิ่นและชนิดพืชที่ปลูก  ใน

                      ปัจจุบันได้พัฒนาวิธีการให้ดีขึ้นโดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสม  จึงแตกต่างไปจากวิธีดั้งเดิมมาก
                    tip burn ปลายใบไหม้: อาการผิดปรกติของพืชที่ชัดเจน คือ เนื้อเยื่อใบส่วนปลายไหม้ กลายเป็นสีนํ้าตาลเข้ม อาจ

                      เกิดจากการขาดธาตุอาหารที่ไม่เคลื่อนย้ายในพืช เช่น อาการขาดแคลเซียม

                    tissue เนื้อเยื่อ : กลุ่มของเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายกันและทําหน้าที่อย่างเดียวกัน เนื้อเยื่อเชิงเดี่ยว (simple tissue)
                      ประกอบด้วยเซลล์แบบเดียวกันทั้งหมด แต่เนื้อเยื่อเชิงซ้อน (complex tissue) ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิด

                    tissue analysis, tissue test การวิเคราะห์เนื้อเยื่อ  : วิธีการประเมินสถานภาพของธาตุอาหารในพืช โดยวิเคราะห์
                      หาความเข้มข้นของธาตุอาหารที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อพืชสด นําผลมาประเมินสถานภาพของธาตุอาหารที่พืชได้รับจากดิน

                      ในฤดูปลูกนั้น  เป็นข้อมูลที่ใช้ช่วยในการพิจารณาว่าพืชอยู่ในภาวะขาดธาตุใดบ้าง ใช้ข้อมูลนี้ร่วมกับค่าวิเคราะห์ดิน

                      เพื่อแนะนําการใช้ปุ๋ย
                    titanium ไททาเนียม: ธาตุลําดับที่ 22 ของตารางธาตุ สัญลักษณ์ธาตุ Ti อยู่ระหว่างสแคนเดียม (scandium, Sc)

                      และวาเนเดียม (vanadium, V) จัดอยู่ในประเภทโลหะแทรนซิชัน เป็นธาตุเสริมประโยชน์ของพืชบางชนิด
                    tolerance limits เกณฑ์คลาดเคลื่อน : ความคลาดเคลื่อนของปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยเคมีซึ่งยอมรับได้  หรือเป็น

                      ความคลาดเคลื่อนขั้นตํ่าและขั้นสูงของปริมาณธาตุอาหารซึ่งมีอยู่จริง  ไปจากปริมาณธาตุอาหารรับรองที่ระบุไว้ใน

                      ฉลากของปุ๋ยเดี่ยวและปุ๋ยเชิงประกอบเกรดต่าง ๆ  โดยถือว่าไม่ผิดกฎหมาย
                    tonoplast เยื่อหุ้มแวคิวโอล : เยื่อหุ้มแวคิวโอล (vacuole) ของเซลล์พืช มีโปรตีนขนส่งประเภทต่างๆทําหน้าที่ขนส่ง

                      ไอออนและโมเลกุลผ่านเยื่อ

                    topdressed fertilizer  ปุ๋ยแต่งหน้า : ปุ๋ยที่ใส่ในแปลงเมื่อมีพืชอยู่แล้ว จะเป็นการใส่แบบหว่านทั่วแปลง โรยเป็น
                      แถบแคบ โรยเป็นแถบกว้าง ใส่บนผิวดินหรือใส่ใต้ผิวดินก็ได้ มีความหมายเหมือน post plant fertilizer

                    topdressing การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า : การใส่ปุ๋ยเมื่อมีพืชอยู่ในแปลงแล้ว (ดู topdressed fertilizer)
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176