Page 170 -
P. 170
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
170
temporal เกี่ยวกับเวลา ชั่วขณะ: คําคุณศัพท์มาจากภาษาละติน tempus ใช้ขยายคํานามให้มีความหมายเกี่ยวกับ
เวลา เช่น temporal dimension แปลว่ามิติของเวลา
Tennessee Valley Authority (TVA): องค์กรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ทําหน้าที่วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้าน
การผลิตปุ๋ย ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์พัฒนาปุ๋ยระหว่างประเทศ (International Fertilizer Development
Center, IFDC) ดู IFDC ประกอบ
terpenoids เทอพีนอยด์ : เมแทบอไลต์ทุติยภูมิประเภทหนึ่ง เป็นกลุ่มของสารเชิงซ้อนที่เรียกว่าเทอพีน (terpenes)
บางชนิดช่วยป้องกันพืชจากการทําลายของแมลงและเชื้อโรค ตัวอย่างของเทอพีนอยด์ ได้แก่ ไพรีทรัม
(pyrethrum) เพ็บเพอร์มินต์ (peppermint) และลาเทกซ์ (latexes)
tertiary structure โครงสร้างตติยภูมิ : โครงสร้างสามมิติของโปรตีน เกิดจากการรวมโครงสร้างทุติยภูมิทั้งแบบ
แอลฟาเฮลิกส์ (α helices)และแผ่นจีบแบบเบตา (β pleated sheets) เข้าด้วยกัน โดยโครงสร้างเหล่านี้เชื่อมยึด
กันสองแบบ คือ อันตรกิริยาระหว่างประจุ (charge-charge interaction) และ พันธะไดซัลไฟด์ (disulfide
bonds) ระหว่างส่วนยื่นของโมเลกุลซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีกํามะถันเป็นองค์ประกอบ เช่น ซีสเทอีน ทั้งสองด้าน
tetrapolyphosphoric acid กรดเตตราพอลิฟอสฟอริก : กรดพอลิฟอสฟอริกที่มีฟอสฟอรัส 4 อะตอม ดูคําอธิบาย
ใน polyphosphoric acid
tetrasodium pyrophosphate (TSPP) เตตราโซเดียมไพโรฟอสเฟต (Na P O ) : เกลือที่ละลายนํ้าได้ มี
4 2 5
ประสิทธิภาพในการทําให้คอลลอยด์ดินฟุ้งกระจายในสารละลายยูเรีย ซึ่งเป็น nonelectrolyte solution หรือใน
นํ้า ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยเหลวที่เป็นสารแขวนลอย
thermophile ชอบความร้อน: สิ่งมีชีวิตที่เติบโตได้ในอุณหภูมิสูง เช่น จุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักบางชนิด (thermo-,
L: ความร้อน; -philo, -phil, L: ชอบ)
thigmotropism การเบนเหตุสัมผัส : การเติบโตที่กระตุ้นด้วยการสัมผัส เช่น มือพัน (tendrils) ของพืชเถาเลื้อย
(thigma, G :สัมผัส)
thioredoxin ไทโอรีดอกซิน: โปรตีนโมเลกุลเล็กที่มีกํามะถันเป็นองค์ประกอบ ทําหน้าที่ในโซ่การเคลื่อนย้าย
อิเล็กตรอนในระบบแสง I และควบคุมการงอกของเมล็ด
thiourea ไทโอยูเรีย : อนุพันธ์ของยูเรียสูตรเคมี CS(NH ) ได้จากอะตอมกํามะถันเข้าแทนที่อะตอมออกซิเจนในยู
2 2
เรีย เป็นตัวยับยั้งกระบวนการไนทริฟิเคชัน และกิจกรรมเอนไซม์ยูรีเอส สารละลายเจือจางช่วยกระตุ้นตาดอกของ
ไม้ผลบางชนิดให้เจริญออกมาเป็นช่อดอก (theion, G: กํามะถัน)
threshold limiting value (TLV) ค่าขีดจํากัดเริ่มเปลี่ยน : ความเข้มข้นของสารพิษ (toxic substances) ที่ยอม
ให้มีได้ในบรรยากาศ เป็นมาตรการควบคุมมลพิษทางอากาศ
threshold value ค่าขีดเริ่มเปลี่ยน : ความเข้มข้นของธาตุอาหารในพืชซึ่งมีการเจริญเติบโตหรือผลผลิตสัมพัทธ์
(relative growth/yield) 90% เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าระดับวิกฤติ (critical level) ซึ่งมี 2 ระดับ คือค่าวิกฤติขาด
แคลน (critical deficiency level) และวิกฤติเป็นพิษ (critical toxicity level) ดู critical level หรือ critical
concentration ประกอบ