Page 165 -
P. 165
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
165
sulfolipid ซัลโฟลิพิด: ลิพิดที่มีกํามะถันเป็นองค์ประกอบ มีอยู่ในเยื่อชนิดต่างๆของพืช เช่นเยื่อหุ้มไทลาคอยด์ของ
คลอโรพลาสต์
sulfur กํามะถัน : (1) ชื่อธาตุกํามะถัน สะกดแบบอังกฤษ (British spelling) ใช้ในภาษาเขียนสําหรับวารสารและ
ตําราทางวิทยาศาสตร์ เดิมเขียนว่า sulphur
sulfur กํามะถัน : (2) ธาตุกํามะถัน ชื่อสามัญคือ brimstone ลักษณะเป็นผลึกสีเหลือง จุดหลอมเหลว 115 ซ. มี
o
ในธรรมชาติหลายรูปแบบคือ เป็นธาตุ แร่ซัลเฟตและแร่ซัลไฟด์ กระบวนการผลิตกํามะถันที่สําคัญคือ Frasch
process (ดู Frasch process ประกอบ)
sulfur กํามะถัน : (3) การผลิตกํามะถัน มี 2 แบบ คือ (1) ผลิตได้จากแก๊สธรรมชาติ และแก๊สซึ่งได้จากการกลั่น
นํ้ามันและถ่านหิน เนื่องจากแก๊สดังกล่าวมีไฮโดรเจนซัลไฟด์อยู่มากพอสมควร และ (2) ผลิตจากแร่
sulfur กํามะถัน : (4) ประโยชน์ กํามะถันมีประโยชน์หลายประการเช่น (1) ใช้ใส่ในดินด่างเพื่อทําให้พีเอชของดิน
ลดลง และเสริมธาตุกํามะถันในดิน และ (2) ใช้ผลิตกรดซัลฟิวริกซึ่งเป็นวัตถุดิบสําคัญในการผลิตปุ๋ย
แอมโมเนียมซัลเฟต ซูเปอร์ฟอสเฟต และกรดฟอสฟอริก
sulfur กํามะถัน : (5) ธาตุอาหารประเภทมหธาตุ สัญลักษณ์ S นํ้าหนักอะตอม 32.1 เซลล์พืชดูดในรูปซัลเฟตไอออน
(SO ) เป็นส่วนมาก มีความเข้มข้นในพืช 0.1-0.4% ธาตุนี้เป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโนซีสเทอีน ซีสทีนและเม
2-
4
ไทโอนีน จึงมีความสําคัญในการสังเคราะห์โปรตีน และเชื่อมโยงโครงสร้างของโมเลกุลโปรตีนด้วย SH-sulfhydryl
linkages บทบาทที่สําคัญด้านอื่นได้แก่ กระตุ้นการทํางานของเอนไซม์ โดยเป็นองค์ประกอบของโคเอนไซม์และ
วิตามิน (เช่น ไบโอทินและไทอะมีน) เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ สารประกอบของ mustard oils ซึ่งให้
กลิ่นเฉพาะตัวของต้นหอม ระดับวิกฤติของกํามะถันในพืช 0.15-0.20% เนื่องจากเป็นธาตุที่เคลื่อนย้ายทางโฟลเอ็ม
ได้น้อยอาการขาดธาตุนี้จึงปรากฏที่ใบอ่อน ส่วนระดับวิกฤติในดิน คือ ความเข้มข้นของกํามะถันที่สะกัดด้วย
CaCl มีค่า 10 มก.S/กก. พืชสามารถดูด SO ทางใบจากอากาศไปใช้ประโยชน์ เนื่องจากในอากาศมีแก๊สนี้
2
2
ประมาณ 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร แต่ความเป็นพิษจะเกิดขึ้นเมื่อมี SO ในอากาศสูง ระดับวิกฤติเป็นพิษ
2
สําหรับพืชทั่วไปคือ 100-200 ไมโครกรัม SO /ลูกบาศก์เมตร
2
sulfur-coated urea (SCU) ยูเรียเคลือบกํามะถัน : ปุ๋ยละลายช้าชนิดหนึ่งซึ่งได้จากการเคลือบผิวเม็ดปุ๋ยยูเรียด้วย
กํามะถันและเคลือบซํ้าอีกครั้งด้วยไขเพื่อลดความพรุน (2-3 % ของนํ้าหนักทั้งหมด) แล้วเติมสารเสริมสภาพปุ๋ย
(2-3 % ของนํ้าหนักทั้งหมด)
sulfur cycle วัฏจักรกํามะถัน : ลําดับการเปลี่ยนแปลงของกํามะถันจากดินสู่พืชและบรรยากาศ ในขั้นตอนต่างๆมี
การเพิ่มกํามะถันบางรูปเข้าสู่ระบบ หรือสูญเสียบางรูปออกจากระบบดิน-พืชสู่บรรยากาศ
sulfur dioxide ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO ) : (1) ออกไซด์ของกํามะถันซึ่งผลิตจากการเผากํามะถันหรือไพไรต์
2
(FeS) และแก๊สที่ระเหิดออกจากเตาหลอมหรือถลุงแร่แล้วนําไปใช้ผลิตกรดซัลฟิวริก
sulfur dioxide ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO ) : (2) ออกไซด์ของกํามะถันซึ่งเจือปนอยู่ในอากาศ เป็นรูปที่ใบพืชดูดมา
2
ใช้ประโยชน์ได้โดยตรง แต่ถ้าความเข้มข้นในอากาศสูงกว่า 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตร จะเป็นอันตรายต่อพืช