Page 163 -
P. 163

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               163





                    stress, plant ความเครียดของพืช: สภาพของพืชที่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากปัจจัยภายนอก จนทําให้อนุมูลอิสระ
                      (free radical) ในเซลล์สูงขึ้น ถึงระดับที่กระบวนการต่างๆในพืชเสียหาย การเติบโตไม่อาศัยเพศ (ของใบ กิ่งก้าน

                      ราก) และการเติบโตด้านการสืบพันธุ์ (ของดอกและผล) ลดลง แบ่งเป็น 2 แบบ คือ (1) ความเครียดจากปัจจัยที่ไม่

                      มีชีวิต (abiotic factors) ซึ่งแบ่งเป็นทางฟิสิกส์ (physical) และทางเคมี (chemical)  และ (2) ความเครียดจาก
                      ปัจจัยที่มีชีวิต (biotic factors) ดังนี้

                          ปัจจัยทางฟิสิกส์          ปัจจัยทางเคมี                 ปัจจัยทางชีวภาพ
                      ความแห้งแล้ง (drought)   มลพิษทางอากาศ (air pollution)   การแข่งขัน (competition)
                      อุณหภูมิ (temperature)   สารอาลลิโล (allilochemical)   อัลลิโลพาที (allilopathy)

                      การแผ่รังสี (radiation)   ธาตุอาหาร (nutrients)   ขาดการพึ่งพา (lack of symbiosis)
                      นํ้าท่วม (flooding)   สารฆ่าศัตรูพืช (pesticides)   กิจกรรมของมนุษย์ (human activities)
                      เชิงกล (mechanical)   สารชีวพิษ (toxins)          โรคพืช (plant diseases)
                      ด้านไฟฟ้า (electrical)   เกลือ (salts)            แมลงศัตรูพืช (insect pest)

                      ด้านแม่เหล็ก (drought)   พีเอชของดิน (soil pH)
                      ลม (wind)
                    strip fertilization, strip placement การใส่ปุ๋ยเป็นแถบกว้าง : การใส่ปุ๋ยบนผิวดินเป็นแถบ

                       กว้างให้สัมพันธ์กับการกระจายของรากพืช หลังจากใส่แล้วอาจพรวนกลบด้วยก็ได้ เปรียบเทียบ
                       กับ banding

                    stroma สโทรมา : ของเหลวภายในคลอโรพลาสต์ อยู่ล้อมรอบไทลาคอยด์ (thylakoids) ซึ่งช้อนกันเป็นกรานา

                      (grana) สโทรมาเป็นที่สังเคราะห์นํ้าตาลในกระบวนการสังเคราะห์แสง
                    structural carbohydrate คาร์โบไฮเดรตโครงสร้าง: คาร์โบไฮเดรตในเซลล์พืชที่ไม่ได้ใช้ในเมแทบอลิซึม

                       เพราะเป็นแมโครโมเลกุล (macromolecule) อันเป็นโครงสร้างของเซลล์ เช่น เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และ

                       เพ็กทินในผนังเซลล์ กว่า 50%ของคาร์บอนในเซลล์พืชเป็นคาร์โบไฮเดรตกลุ่มนี้
                    stubble ตอซัง : ส่วนของลําต้นและรากข้าวหรือหญ้า ที่เหลือหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว การเกลี่ยให้ตอซัง

                      กระจายบนผิวดินเป็นการคลุมดินด้วยตอซัง (stubble mulching)

                    style ก้านเกสรเพศเมีย : ส่วนที่ยื่นขึ้นมาจากรังไข่เพื่อชูยอดเกสรเพศเมียให้ใกล้แต่ตํ่ากว่าอับเรณู
                    suberin ซูเบอริน : สารประเภทไขมัน ประกอบด้วยกรดไขมันโซ่ยาวและเอสเทอของกรดไขมัน พบในผนังของเซลล์

                      คอร์กและในแถบคาสพาเรียน (Casparian strip) ที่ผนังของเอนโดเดอร์มิส (endodermis) ทําให้นํ้าและไอออน
                      ผ่านผนังเซลล์ส่วนนั้นไม่ได้

                    subsidy เงินอุดหนุน : ค่าใช้จ่ายที่รัฐให้แก่หน่วยงานเอกชน หน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนชาวบ้าน โดยจ่ายเงิน
                      โดยตรงหรือโดยอ้อม หรือการยอมให้สิทธิประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยความตั้งใจที่จะส่งเสริมให้

                      เกิดประโยชน์อย่างทั่วถึงต่อกลุ่มเป้าหมาย เช่น รัฐอุดหนุนให้ชุมนุมเกษตรกรจําหน่ายปุ๋ยราคาถูกแก่สมาชิก

                    subsistence farm ฟาร์มแบบพอกินพออยู่ : ฟาร์มซึ่งผลิตพืชและสัตว์พอเพียงสําหรับการบริโภคในครอบครัว ไม่
                      ใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก มีผลผลิตบางส่วนเหลือไว้ขาย
   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168