Page 166 -
P. 166

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               166





                    sulfur fertilizer ปุ๋ยกํามะถัน : กํามะถันหรือสารประกอบกํามะถันที่ใช้เป็นปุ๋ย ดังนี้ (1) ปุ๋ยธาตุหลัก มีกํามะถันเป็น
                      องค์ประกอบ เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต ซูเปอร์ฟอสเฟตธรรมดา และโพแทสเซียมซัลเฟต (2) ปุ๋ยธาตุรอง เช่น ยิบ

                      ซัม (CaSO .2H O) แมกนีเซียมซัลเฟตโมโนไฮเดรต (MgSO .2H O) และ แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตาไฮเดรต
                              4
                                                                        2
                                  2
                                                                    4
                      (MgSO .7H O) และ (3) ใช้กํามะถันผง แต่ต้องให้จุลินทรีย์ดินเปลี่ยนเป็นซัลเฟตก่อนที่พืชจะดูดไปใช้ประโยชน์
                               2
                            4
                      (ดู sulfur oxidation)
                    sulfur oxidation ออกซิเดชันของกํามะถัน : (1) ปฏิกิริยาระหว่างกํามะถันกับออกซิเจน เกิดขึ้นโดยการเผากํามะถัน
                      กับออกซิเจนจนได้ซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ (SO ) ซึ่งเมื่อทําปฏิกิริยากับนํ้าก็จะได้กรดซัลฟิวริก (H SO )
                                                                                             2
                                                       3
                                                                                                 4
                    sulfur oxidation ออกซิเดชันของกํามะถัน (2) ปฏิกิริยาชีวเคมี โดยกิจกรรมของแบคทีเรียในดินที่ออกซิไดส์
                      กํามะถันเป็นซัลเฟต ได้แก่สกุล Thiobaciius, Beggiatoa, Thiothrix, Thiospirillum และ Thiocystis โดย
                      สกุล Thiobaciius มีบทบาทสําคัญที่สุด ซึ่งได้แก่ Thiobaciius thiooxidane, Thiobaciius denitrificans,

                      Thiobaciius thioparus, Thiobaciius novellus และ Thiobaciius ferrooxidans.
                    sulfuric acid  กรดซัลฟิวริก (H SO , oil of vitriol) : (1) การผลิต ใช้วัตถุดิบ 2 แบบ คือ ผลิต
                                             2
                                                4
                         จากกํามะถัน โดยปฏิกิริยาออกซิเดชันของกํามะถันได้ SO และ SO  ตามลําดับ เมื่อ SO  ทํา
                                                                                           3
                                                                   2
                                                                           3
                         ปฏิกิริยากับนํ้าได้ H SO  และ ใช้เหล็กไพไรต์ (FeS ) แอนไฮไดรต์ (CaSO ) และยิปซัม
                                          4
                                                               2
                                       2
                                                                                4
                         (CaSO .2H O) เป็นวัตถุดิบ
                             4
                                2
                    sulfuric acid  กรดซัลฟิวริก : (2) ประโยชน์  กรดซัลฟิวริกเป็นวัตถุดิบในการผลิตกรดฟอสฟอริก
                         โดย  wet process  และใช้ผลิตปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตธรรมดา อาจใช้กรดซัลฟิวริกปริมาณ
                         พอเหมาะในการปรับปรุงดินโซดิก (sodic soil)  เนื่องจากกรดนี้สามารถลด pH และโซเดียม
                         แลกเปลี่ยนได้ในดินลงมาสู่ระดับปกติ
                    sulphur กํามะถัน: ชื่อธาตุกํามะถันซึ่งเขียนในภาษาทั่วไป ใช้คู่กับ sulphuric acid (กรดซัลฟิวริก)

                    supernatant ส่วนลอย : ชั้นบนของวัฏภาคของเหลว (liquid phase) ในภาชนะ

                    superoxide dismutase ซูเปอร์ออกไซด์ดีสมิวเทส: เอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาสลายอนุมูลอิสระซูเปอร์ออกไซด์
                      (superoxide free radical) ให้เป็นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ชื่อย่อ SOD มี 3 ไอโซไซม์ (isozymes) เนื่องจากมี

                      ธาตุอาหารในโครงสร้างต่างกัน คือ Cu-Zn SOD (มีทองแดงและสังกะสี) Mn-SOD (มีแมงกานีส) และ Fe-SOD
                      (มีเหล็ก)
   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171