Page 162 -
P. 162
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
162
starch แป้ง: พอลิแซกกาไรด์ (polysaccharide) ซึ่งกลูโคสเป็นมอโนเมอร์ มี 2 ชนิด คือ (1) แอไมโลส (amylose)
กลูโคสเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซด์ (glycosidic bond) ที่ตําแหน่งแอลฟา 1,4 และ (2) แอไมโลเพ็กทิน
(amylopectin) กลูโคสเชื่อมต่อกันที่ตําแหน่งแอลฟา 1,4 และ แอลฟา 1,6
starch synthase สตาร์ชซินเทส: เอนไซม์ทําหน้าที่เร่งปฏิกิริยาถ่ายโอนกลูโคสจาก ADP-glucose ไปยังโมเลกุล
ของ (1,4-alpha-D-glucosyl) เพื่อเพิ่มความยาวโซ่ให้กลายเป็นแป้ง เอนไซม์นี้มีโพแทสเซียมเป็นโคแฟกเตอร์
n
starter fertilizer ปุ๋ยเร่งต้นอ่อน : มีความหมายเหมือน pop-up fertilizer
statolith สทาโทลิท : พลาสทิดชนิดพิเศษภายในมีเม็ดแป้งอัดแน่น อยู่ในเซลล์โคลูเมลลาของหมวกราก ทําหน้าที่
เกี่ยวกับการตอบสนองของรากในการเบนเหตุความโน้มถ่วง (gravitropism)
stele สทีล : ส่วนกลางของรากหรือลําต้น ซึ่งล้อมรอบด้วยคอร์เทกซ์ (stele, G: เสา)
stem nodulation legume ถั่วมีปมที่ลําต้น : ถั่วที่สร้างปมตามลําต้น ได้แก่ถั่วสกุล Aeschynomene, Sesbania
และ Neptunia เช่น Aeschynomene villosa, Aeschynomene venia, Aeschynomene paniculata,
Aeschynomene indica, Sesbania rostrata และ Neptunia oleraceaea
stigma ยอดเกสรเพศเมีย : ส่วนบนสุดของก้านเกสรเพศเมีย พื้นผิวเว้าลงเล็กน้อย เคลือบด้วยนํ้าเชื่อมเหนียว
สําหรับรับละอองเรณู
stomata ปากใบ : ช่องระหว่างเซลล์คุมสองเซลล์ ซึ่งขนาดของช่องถูกควบคุมด้วยความเต่งของเซลล์คุม ปากใบเป็น
ทางผ่านของ CO , O และไอนํ้า [stoma (G) : ปาก พหูพจน์ คือ stomata] ธาตุโพแทสเซียม แคลเซียมและ
2
2
คลอรีนมีบทบาทในการควบคุมการเปิด-ปิดปากใบ
straight fertilizer ปุ๋ยเดี่ยว : ปุ๋ยเคมีซึ่งมีธาตุหลัก (N, P และ K)) ธาตุใดธาตุหนึ่งเพียงธาตุเดียว เช่น ยูเรีย มี
ไนโตรเจน ทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟตมีฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมคลอไรด์มีโพแทสเซียม
strategy 1 กลยุทธที่ 1: การตอบสนองของพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (ยกเว้นพืชตระกูลหญ้า) ที่ขาดเหล็ก
โดยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของเหล็กในดิน 3 วิธี คือ รีดิวซ์เฟอริกไอออนเป็นเฟอรัสไอออนที่ผิวราก เพิ่มกรดใน
ดินรอบผิวราก และขับตัวรีดิวซ์เหล็กจากรากสู่ดิน
strategy 2 กลยุทธที่ 2: การตอบสนองของพืชตระกูลหญ้าที่ขาดเหล็ก โดยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของเหล็กในดิน
โดยรากสังเคราะห์สารไฟโทซิเดโรฟอร์ (phytosiderophores) และขับออกมาทําปฏิกิริยาคีเลชันกับเหล็กในดิน ได้
เหล็กคีเลตแล้วรากจึงดูดไปใช้ประโยชน์