Page 167 -
P. 167

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               167





                    superphosphate  ซูเปอร์ฟอสเฟต : ปุ๋ยที่ผลิตได้จากปฏิกิริยาระหว่างหินฟอสเฟตกับกรดกํามะถันหรือกรด
                      ฟอสฟอริกหรือส่วนผสมของกรดทั้งสองนี้ (super-แปลว่าสูงกว่าหรือเหนือกว่า) จําแนกเป็น 3 ชนิดคือ (1) ซูเปอร์

                      ฟอสเฟตธรรมดา (regular, ordinary, single, standard, simple superphosphate) ผลิตได้จากปฏิกิริยา

                      ระหว่างหินฟอสเฟตกับกรดซัลฟิวริก ได้ปุ๋ยสูตร 0-20-0 องค์ประกอบคือโมโนแคลเซียมฟอสเฟตโมโนไฮเดรต
                      [Ca(H PO ) .H O] และยิปซัม (2) Enriched  superphosphate  ผลิตได้จากปฏิกิริยาระหว่างหินฟอสเฟตกับ
                              4 2
                           2
                                 2
                      กรดผสมระหว่างกรดซัลฟิวริกและกรดฟอสฟอริก องค์ประกอบหลักคือ Ca(H PO ) .H O มียิปซัมอยู่ด้วย
                                                                                    4 2
                                                                                        2
                                                                                 2
                      ฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์ (P O ) สูงกว่า 22% แต่ตํ่ากว่า 40 % และ (3) Concentrated  superphosphate
                                          2 5
                      (treble,  triple  หรือ multiple superphosphate) ได้จากปฏิกิริยาระหว่างหินฟอสเฟตกับกรดฟอสฟอริกมี
                      ฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์ (P O ) สูงกว่า 40 %  องค์ประกอบหลักคือ Ca(H PO ) .H O สูตรปุ๋ย 0-46-0
                                                                                      2
                                                                               2
                                                                                  4 2
                                          2 5
                    superphosphoric acid  กรดซูเปอร์ฟอสฟอริก: กรดผสมของกรดออโทฟอสฟอริกกับกรดพอลิฟอสฟอริกหลาย
                      ชนิด  ผลิตโดย (1) ดีไฮเดรชันของกรดออโทฟอสฟอริก หากใช้กรดจาก wet process  จะได้กรดเข้มข้น 68-72
                      % P O  แต่ถ้าใช้กรดจาก electric furnace process  จะได้กรดที่เข้มข้น  83 % P O  หรือ (2) ปฏิกิริยาระหว่าง
                                                                                      2 5
                         2 5
                      ฟอสฟอรัสเพนทอกไซด์กับนํ้าในอุปกรณ์พิเศษ  กรดซูเปอร์ฟอสฟอริกเป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยแอมโมเนียมพอลิ
                      ฟอสเฟต
                    surface banding การใส่ปุ๋ยเป็นแถบปุ๋ยบนผิวดิน: การโรยปุ๋ยบนผิวดินให้เป็นแถบแคบ ซึ่งแตกต่างจากการใส่ให้

                      ปุ๋ยอยู่ใต้ผิวดิน (deep banding, deep placement)

                    surfactants  สารลดความตึงผิวของเหลว : สารที่ใช้ผสมในของเหลวเพื่อลดความตึงผิวของของเหลว เช่น สบู่และ
                      ผงซักฟอก เรียกว่า surface active agent ก็ได้ แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ nonionic, anionic  และ cationic แต่ใน

                      วงการปุ๋ยใช้เฉพาะ 2 ชนิดแรกเท่านั้น anionic surfactants ได้แก่สารต่อไปนี้ complex alkyl aryl  sodium
                      sulfonates  และ sulfates ส่วน nonionic surfactantsได้แก่ complex ethers และ alcohol ชนิดต่างๆ สาร

                      บางชนิดเช่น modified alkyl aryl sulfonates ใช้เป็นสารเสริมสภาพสําหรับปุ๋ยเม็ด  โดยเคลือบผิวเม็ดเป็นเยื่อซึ่ง
                      มีความหนาเพียงหนึ่งโมเลกุล ป้องกันการจับตัวของปุ๋ยเป็นก้อน

                    suspending agent  สารเสริมสภาพแขวนลอย : สารที่ใส่ลงไปในปุ๋ยเหลวสารแขวนลอย (suspension fertilizer)

                      เพื่อป้องกันการตกตะกอนของอนุภาคในของเหลวนั้นระหว่างการเก็บหรือขนส่งปุ๋ย สารที่ใช้ได้แก่ attapulgite
                      clay, sodium  bentonite และ sepiolite clay

                    suspension fertilizers  ปุ๋ยเหลวสารแขวนลอย    : ปุ๋ยเหลวที่มีทั้งปุ๋ยที่ละลายแล้วและยังไม่

                        ละลายเป็นส่วนประกอบ ตะกอนที่แขวนลอยอยู่นั้นมีทั้งปุ๋ยที่ยังไม่ละลายและสารเสริมสภาพ
                        แขวนลอย (suspending agent) ซึ่งมิใช่ปุ๋ย

                    sustainable agriculture การเกษตรยั่งยืน : ระบบจัดการทรัพยากรเกษตรที่เหมาะสม ให้ผลผลิตพืชและสัตว์

                      สําหรับมนุษย์อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง สามารถอนุรักษ์ดิน เสริมสร้างคุณภาพดินและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆให้
                      ดีได้อย่างยั่งยืน มีการนําความรู้หลายด้านมาใช้เชิงบูรณาการ เพื่อให้มีเสถียรภาพของผลผลิตเชิงปริมาณและ

                      คุณภาพในระยะยาว เป็นระบบที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172