Page 173 -
P. 173

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               173





                    transcription การถอดรหัส : กระบวนการสังเคราะห์ RNA จาก DNA ต้นแบบ และ RNA ที่ได้มีลําดับเบสเป็นคู่
                      สมกับ DNA ต้นแบบ

                    transfer cell เซลล์ถ่ายโอน : เซลล์พาเรงคิมาอยู่ระหว่างหลอดตะแกรงในโฟลเอ็มกับไซเล็มเวสเซล ช่วยในการ

                      ถ่ายเทสารระหว่างโฟเอ็มและไซเล็ม
                    transition zone ช่วงเปลี่ยนสภาพ : พิสัยหรือช่วงความเข้มข้นของธาตุอาหารในเนื้อเยื่อดัชนี ของพืชที่คาบเกี่ยว

                      “ระหว่างช่วงขาดแคลนกับช่วงเพียงพอ” ความเข้มข้นของธาตุอาหารที่ให้การเติบโตหรือผลผลิตสัมพัทธ์ 90%
                      (90%ของค่าสูงสุด) เรียกว่าความเข้มข้นวิกฤติ (critical concentration) หรือระดับวิกฤติ (critical level)

                      เปรียบเทียบกับ deficient zone, adequate zone และ toxic zone

                    translation การแปลรหัส : กระบวนการสร้างโปรตีน โดยการแปลรหัสพันธุกรรมบนอาร์เอ็นเอนํารหัส (mRNA)
                      ออกมาเป็นลําดับกรดอะมิโนของสายพอลิเพ็บไทด์

                    transpiration การคายนํ้า : การสูญเสียนํ้าของพืชทางปากใบ (ส่วนมาก) และช่องในคิวติเคิล (ส่วนน้อย)
                      ขณะเดียวกันก็มีแรงดึงนํ้าและธาตุอาหารจากรากทางไซเล็มสู่ส่วนเหนือดิน

                    transport protein โปรตีนขนส่ง : โปรตีนในเยื่อหุ้มเซลล์หรือเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ ทําหน้าที่ขนส่งไอออนและ

                      โมเลกุลต่างๆเข้าไปภายในหรือออกจากมาภายนอก มี 4 ชนิด คือ aquaporin, proton pump, channel และ
                      transporter (carrier)

                    transport vesicle ถุงขนส่ง : ถุงเล็กมีเยื้อหุ้มโดยรอบภายในมีลิพิด โปรตีนและสารอื่น ซึ่งสังเคราะห์ได้ในร่างแห

                      เอนโดพลาซึม ถุงขนส่งจะแยกตัวออกมาจากร่างแหเอนโดพลาซึม แล้วเคลื่อนที่ไปยังกอลไจแอปพาราตัส (Golgi
                      apparatus)

                    transporter พาหะ :  โปรตีนขนส่งในเยื่อของเซลล์ ซึ่งมีความจําเพาะเจาะจงในการจับเกาะกับไอออนหรือโมเลกุล
                      แล้วเปลี่ยนโครงรูปแบบผันกลับ เพื่อให้เกิดช่องสําหรับขนส่งไอออนหรือโมเลกุลนั้น อาจเป็นพาหะขนส่งทางเดียว

                      (uniporter) ขนส่งร่วมทาง (symporter หรือ cotransporter) หรือขนส่งสวนทาง (antiporter) (เรียกอีกอย่าง

                      หนึ่งว่า carrier, translocator, porter หรือ permease )
                    treble superphosphats; triple superphosphate เทรบเบิลซูเปอร์ฟอสเฟตหรือทริบเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต : ปุ๋ย

                      ซูเปอร์ฟอสเฟตเข้มข้นชนิดหนึ่งเกรด 0-46-0  ดูคําอธิบายใน superphosphate (tri- แปลว่าสาม ส่วน treble
                      และ triple แปลว่าสามเท่า)

                    triazone ไตรอะโซน (C H N O) : สารประกอบอินทรีย์ซึ่งมีไนโตรเจนทั้งหมดอย่างน้อย 41%
                                       3 7 3
                    tricalcium phosphate ไตรแคลเซียมฟอสเฟต : เกลือแคลเซียมฟอสเฟตซึ่งมีสูตร Ca (PO )  ดูคําอธิบายใน
                                                                                       3
                                                                                           4 2
                      calcium  phosphate
                    triple response การตอบสนองสามแบบ : การตอบสนองด้านการเติบโตของพืชเมื่อถูกกระตุ้นด้วยเอทิลีน

                      (ethylene) ซึ่งได้แก่ลดการยืดตัวของต้นหรือราก เพิ่มความกว้างของต้นหรือรากและการเบนโค้งลงเพื่อการเติบโต
                      ตามแนวราบ
   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178