Page 178 -
P. 178
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
178
vermiculite เวอมิคิวไลต์ : แร่ดินเหนียวซึ่งมีสูตร 3MgO. Fe Al O . 3SiO เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแร่แมกนีเซียม
2
2 3
2
ไมกา เป็นวัสดุที่เหมาะในการใช้เป็นวัสดุปรับสภาพในปุ๋ยผสม หรือเป็นส่วนผสมของวัสดุปลูกพืชในโรงเรือนและ
ดินผสม เพราะดูดซับนํ้าได้ดี และมีความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนสูงขึ้น
vermiculture การเลี้ยงไส้เดือน : กิจกรรมการการเลี้ยงและเพิ่มจํานวนไส้เดือน โดยการเลี้ยงในดิน หรือเลี้ยงควบคู่
กับการทําปุ๋ยหมักจากไส้เดือน
vernalization การกระตุ้นให้มีดอกโดยความเย็น : การใช้ความเย็นเพื่อกระตุ้นให้พืชออกดอก (vernus, L : ฤดู
ใบไม้ผลิ, มีกําเนิดหรือผลิ)
vesicle เวสิเคิล, ถุงเล็ก : (1) ถุงภายในเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มโดยรอบ หากมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 50 นาโนเมตร จะมี
ความสําคัญต่อกระบวนการขนส่งภายในเซลล์ แวคิวโอล (vacuole) เป็นเวซิเคิลแบบหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่ (vesic-,
L: ถุง)
vesicle เวสิเคิล, ถุงเล็ก : (2) โครงสร้างแลกเปลี่ยนอาหารของเชื้อราไมคอร์ไรซา ซึ่งใยราพัฒนาเป็นถุงเล็ก เชื้อราใช้
ส่วนนี้ในการส่งผ่านธาตุอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟอสฟอรัสไปให้เซลล์รากพืช ขณะเดียวกันก็รับซูโครสจากเซลล์
รากพืชมาเป็นแหล่งคาร์บอนและพลังงาน
vesicular arbuscular mycorrhiza ( VA-mycorrhiza) : สภาวะอยู่รวมกัน (symbiotic association) ระหว่าง
ราพวก VA-mycorrhiza กับรากพืช เชื้อราพวกนี้มีถุงเล็ก (vesicle) และ อาร์บัสคูล (arbuscul) ซึ่งมีการแตกกิ่ง
ก้านคล้ายรากไม้ ใช้สองอย่างนี้ในการส่งผ่านธาตุอาหารระหว่างใยรากับเซลล์รากพืช
vessel element เซลล์ท่อลําเลียงนํ้า : เซลล์ที่ตายแล้ว เชื่อมกันในแนวดิ่ง มีลักษณะเป็นท่อกลวง อยู่ในไซเล็ม ทํา
หน้าที่ลําเลียงนํ้าและธาตุอาหารจากรากสู่ส่วนเหนือดิน
vinasses วิแนส, นํ้ากากส่า: ของเหลวซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตเอทานอล (ethanol) อันเป็นกระบวนการ
หมักด้วยยีสที่ใช้โมลาส (molasses) หรือมันเส้นเป็นวัตถุดิบ โดยยีสทําหน้าที่เปลี่ยนนํ้าตาลเป็นเอทานอล ภายหลัง
การกลั่นเพื่อแยกเอทานอลออกไป จะเหลือของเหลวเรียกว่าวิแนส ซึ่งมีสารอินทรีย์และธาตุอาหาร ใช้เป็นสาร
ปรับปรุงดิน
viscosity ความหนืด : สมบัติของของเหลวในการต่อต้านการไหล หน่วยที่ใช้วัด คือ centipoise ความหนืดของ
นํ้าที่ 20 ซ. มีค่าใกล้เคียง 1 centipoise การทราบค่าความหนืดของของเหลว เช่น กรดฟอสฟอริก มีความสําคัญ
o
ในการควบคุมการใช้กรดในระบวนการผลิตปุ๋ย
volatilization การระเหย : การสูญหายของสารในรูปของแก๊ส การระเหยของปุ๋ยเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
เช่น (1) ไนเทรตผ่านกระบวนการดีไนทริฟิเคชัน (denitrification) กลายเป็นแก๊ส NO, N O, NO หรือ N และ
2
2
2
(2) ปุ๋ยแอมโมนียม เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต ทําปฏิกิริยากับ CaCO ในดินด่าง เกลือแอมโมเนียมจะสลายได้แก๊ส
3
แอมโมเนีย
volatile compounds สารระเหย: สารประกอบกํามะถันทุติยภูมิ (secondary sulfur compounds) ได้แก่ (1) อัลลิ
อีน (alliins) มีในพืชพวก หอมและกระเทียม เมื่อแตกตัวจะให้กลิ่นเฉพาะของพืช และ (2) กลูโคซิโนเลต
(glucosinolate) มีในพืชวงศ์กะหลํ่า ให้กลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของพืช
…………………………………………