Page 29 -
P. 29
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
10 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
ใน พ.ศ.2554 กรมศิลปากรน าต้นฉบับชื่อ The Short History of the Kings of Siam มา
แปลเป็นภาษาไทยให้ชื่อว่า พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับ วัน วลิต พ.ศ.2182
3. The Historical Account of the War of Succession Following the death
of King PraInterajasia, 22 King of Ayuthian Dynasty (ค.ศ.1640) ซึ่งเมื่อ พ.ศ.2481
nd
สมเด็จฯ กรมพระยาด ารงราชานุภาพโปรดให้จัดพิมพ์ขึ้นจากฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ
ของนาย ดับลิว. เอช. มันดี. (W. H. Mundie) ลงในวารสารของสยามสมาคม ส่วนฉบับ
ภาษาไทยที่ขุนวิจิตรมาตราแปลได้ 9 หน้าทรงตั้งชื่อว่า จดหมายเหตุวันวลิต พิมพ์
ครั้งแรกในงานศพคุณหญิงทิพย์ สุรพันธุ์พิสุทธิ์ เมื่อ พ.ศ.2477 (เริงวุฒิ มิตรสุริยะ,
2542, น. 83) ต่อมากรมศิลปากรได้มอบหมายให้นางนันทา วรเนติวงศ์ แปลจาก
ต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาไทย ตีพิมพ์ครั้งแรกใน พ.ศ.2508 อยู่ใน ประชุม
พงศาวดารภาคที่ 79 ชื่อว่า จดหมายเหตุวันวลิต (ฉบับสมบูรณ์)
ทั้ง 3 เล่มรวมอยู่ในหนังสือชื่อ รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของฟาน ฟลีต
(วัน วลิต) กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในวาระ 400 ปี สัมพันธไมตรีไทย-เนเธอร์แลนด์
เมื่อ พ.ศ.2547 และพิมพ์ครั้งที่ 2 ในปีถัดมา
3.3 จดหมายเหตุลาลูแบร์
ซีมอง เดอ ลาลูแบร์ (Simon de la loubère) เป็นหัวหน้าคณะทูตฝรั่งเศส
คณะที่สองที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงส่งมาเจริญสัมพันธไมตรีและได้เข้าเฝ้าสมเด็จ
พระนารายณ์ เขาใช้เวลาอยู่ในประเทศสยามตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน ค.ศ.1687 ถึง
3 มกราคม ค.ศ.1688 และได้เขียนบันทึกความทรงจ าส่งให้เมอร์สิเออร์ มาร์กีส์ เดอ
เซนเญอเล (Monsieur le Marquis de Seignelay) เสนาบดีกระทรวงทหารเรือฝรั่งเศสไว้
2 เล่ม ในราว พ.ศ.2230
ฉบับที่แปลเป็นภาษาไทยเล่มแรกชื่อ พงศาวดารสยามครั้งกรุงศรีอยุธยา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ
ของ A.P. Gen R.S.S. ชื่อ A New Historical Relation of the Kingdom of Siam