Page 26 -
P. 26

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                       วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560)   7


                 เรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีพระราชวิจารณ์ไว้
                 ใน หนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน (2516, น. 216-217) ว่าได้ทรงให้ค้นที่มาจนไปพบ
                 “ต านานเรื่องข้าวยาคู” ในคัมภีร์ธรรมบทและคัมภีร์มโนรถบุรณี ว่าข้าวยาคูท าจาก
                 เมล็ดข้าวซึ่งก าลังตั้งท้อง ต้มด้วยน ้านมสดล้วน ไม่เจือน ้า เจือเนยใส น ้าผึ้ง น ้าตาล

                 กรวด แต่ใน หนังสือบุพพสิกขาวัณนาที่พระอมราภิรักขิต (เกิด) แต่งและ หนังสือพระ
                 วินัยค าแปลที่สมเด็จพระวันรัต (ทับ) วัดโสมนัสวิหารแต่งได้แปลค าข้าวยาคูว่า
                 “ข้าวต้ม” ทรงอธิบายว่า ถ้าใช้ค าว่า “ยาคู จะต้องเข้าใจว่าเป็นของหวานที่เจือใบข้าว
                 สีเขียวๆ เช่น เลี้ยงพระพิธีสารท” ดังนั้นเมื่อแปลใช้ในภาษาไทยว่า ข้าวต้ม ก็เหมาะสม

                 กับที่พระสงฆ์ไทยจะพอใจฉัน ยังทรงอธิบายอีกว่า ยาคูในพระวินัยยังมีแปลกออกไปอีก
                 คือ เจือขิง เจือใบกะเพราและเกลือ จะท าให้รสเค็มๆ ฉุนๆ สรุปได้ว่า ยาคูในพระบาลีมี
                 สองอย่าง คือ ยาคูเค็มที่เป็นข้าวต้มกับยาคูหวานที่เป็นข้าวต้มอ่อนเจือน ้าตาล ถ้าจะ
                 เทียบกับข้าวยาคูของไทยก็จะใกล้เคียงกับข้าวยาคูหวาน แต่รสชาติ สีสันและวิธีท า
                 ต่างกัน

                        ผู้วิจัยได้ส ารวจวรรณคดีนิทานและวรรณคดีการแสดงในสมัยอยุธยาเพื่อหา
                 ข้อมูลพฤติกรรมการกินอาหาร วิธีการกินและอาหารที่คนไทยกินก็ไม่พบข้อมูลเหล่านี้
                 เท่าที่พบมีเพียงวรรณคดีนิทานเรื่อง ลิลิตพระลอ ที่สันนิษฐานว่าแต่งในราวสมัย

                 พระรามาธิบดีที่ 2 ราว พ.ศ.2046 (ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต, 2547, น. 179) กล่าวถึง
                 เหตุการณ์ตอนพระลอลอบไปหาพระเพื่อนพระแพงที่ต าหนัก สองนางต้อนรับพระลอ
                 ด้วยผ้าหอมซับพระพักตร์ แล้วส่งพานหมากให้เสวยก่อนที่จะถวาย “พระกระยาเสวย”
                 หรือข้าว ซึ่งเป็นการกล่าวโดยรวม ไม่ได้จ าแนกแยกแยะว่ามีอะไรบ้าง

                                   ผ้าต้นตีค่าล้วน     ทองถวาย
                            ถวายกระแจะจรุงลาย          ลูบไล้
                            สลาพานมกรราย               รัตนแต่ง ถวายนา

                            พระกระยาเสวยไท้            อ่อนท้าวผจงถวาย
                                              (ชุมนุมเรื่องพระลอ, 2547, น. 95)

                        วรรณคดีอีกเรื่องหนึ่งเป็นวรรณคดีพรรณนาอารมณ์ในสมัยอยุธยาตอนปลาย
                 คือ กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศกของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (กุ้ง) ท่านได้คร ่าครวญถึง
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31