Page 24 -
P. 24
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560) 5
1. บทน า
หากจะศึกษาประวัติศาสตร์สังคมของคนไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาคงต้อง
ยอมรับว่าจะหาหลักฐานจากเอกสารไทยได้ยากด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
ก. เอกสารส่วนใหญ่ในหอสมุดหลวงกรุงศรีอยุธยาถูกเผาผลาญไปในคราว
เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ.2310 เอกสารทางประวัติศาสตร์และวรรณคดีที่หลงเหลือ
มาเป็นเพียงส่วนน้อยที่ตกค้างอยู่ตามหัวเมืองใหญ่ เช่น เพชรบุรี นครศรีธรรมราช
เป็นต้น แต่ก็ได้น ามารวบรวมซ่อมแซมแต่งเติมใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะ
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 เป็นต้นมา
ข. เอกสารของชาวสยามที่พอจะบันทึกภาพสังคมกรุงศรีอยุธยาให้เห็น
อย่างชัดเจนคือ เอกสารเกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ เช่น กฎหมายลักษณะวิวาทสมัย
พระเจ้าบรมโกศ กฎมณเฑียรบาล ฯลฯ เอกสารเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม ประเพณี
เช่นพระราชก าหนดเก่า ประกาศพระราชพิธีตรุษ ศิลาจารึกเรื่องบูรณะพระบรมธาตุ
เมืองชัยนาท พ.ศ.2260 ปุณโณวาทค าฉันท์ของพระมหานาคสมัยพระเจ้าบรมโกศ
โคลงพยุหยาตราเพชรพวง ฯลฯ หลักฐานที่เป็นวรรณคดีพรรณนาอารมณ์ ได้แก่
โคลงทวาทศมาส โคลงนิราศนครสวรรค์ของพระศรีมโหสถ กาพย์เห่เรือและกาพย์
ห่อโคลงของเจ้าฟ้ากุ้งสมัยพระเจ้าบรมโกศ ที่เป็นวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติ ได้แก่
โคลงยวนพ่าย โคลงสรรเสริญพระเกียรติพระนารายณ์ของพระศรีมโหสถ เอกสาร
ดังที่กล่าวมาทั้งหมดไม่ได้มีจุดมุ่งหมายในการบันทึกภาพสังคมโดยตรง ผู้อ่านต้อง
สกัดความรู้ที่ต้องการออกมาเอง ซึ่งก่อนที่จะสกัดความรู้ออกมานั้น จ าเป็นที่จะต้อง
เข้าใจวิธีการเขียนงานประเภทต่างๆ นั้นด้วย ตัวอย่างเช่น งานที่แต่งขึ้นเป็นวรรณคดี
ร้อยกรองประเภทวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกย่องสรรเสริญ
พระเกียรติคุณ ดังนั้น มุมมองที่แสดงออกจึงเป็นมุมมองด้านบวกเพียงด้านเดียวหรือ
ภาพสังคมที่สะท้อนผ่านวรรณคดีพรรณนาอารมณ์ก็เป็นภาพสังคมในมุมมองของ
อารมณ์กวีในขณะนั้น เช่น ทวาทศมาสโคลงดั้นในสมัยอยุธยาตอนต้นพรรณนาถึง
บรรยากาศในเดือนอ้ายว่า น ้าจากฝนฟ้าที่ตกมาเต็มทุ่งก าลังจะจากไป ในอกของพี่ก็
ยิ่งแห้งผากเช่นเดียวกัน ดังนี้