Page 253 -
P. 253
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
234 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
การอ้างความเป็นพวกเดียวกัน 1 ครั้ง (0.33%) การอ้างต าราหรือปรมาจารย์ 1 ครั้ง
(0.33%) และการอ้างผู้อื่นเป็นตัวอย่าง 1 ครั้ง (0.33%)
8. สรุปผลการวิจัยและการวิจารณ์
จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ ดังนี้
1. เมื่อพิจารณาจ านวนความคิดเห็นทั้งหมดและจ านวนความคิดเห็นที่เป็น
การอ้างเหตุผลผิดพบว่า กรณีศึกษาที่ 1 มีอัตราส่วนการแสดงความคิดเห็นที่จัดเป็น
การอ้างเหตุผลผิดมากที่สุด ส่วนกรณีศึกษาที่ 2 และกรณีศึกษาที่ 3 มีอัตราส่วนการ
แสดงความคิดเห็นที่เป็นการอ้างเหตุผลผิดใกล้เคียงกัน เนื่องจากในกรณีศึกษาที่ 1
จ่าพิชิตฯ ไม่ได้น าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายลิขสิทธิ์มาประกอบการน าเสนอ
แตกต่างจากกรณีศึกษาที่ 2 และกรณีศึกษาที่ 3 ซึ่งจ่าพิชิตฯ ได้ให้ความรู้ทางการ
แพทย์ประกอบการน าเสนอ
กรณีศึกษาที่ 1 แม้ความคิดเห็นส่วนใหญ่เห็นด้วยว่า แอดมินของเฟซบุ๊ก
แฟนเพจ คานิวอล ไทยแลนด์ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นจริงตามกฎหมาย แต่การแสดง
6
ความคิดเห็นส่วนใหญ่ใช้อารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องท าให้กลายเป็นความคิดเห็นที่ใช้
การอ้างเหตุผลผิดโดยความคิดเห็นเชิงคัดค้านมีเพียง 2 ความคิดเห็น และเป็นการอ้าง
เหตุผลผิดทั้งหมด เพราะกล่าวอ้างถึงน ้าใจอย่างไม่ถูกต้อง
กรณีศึกษาที่ 2 นั้น ความคิดเห็นส่วนใหญ่เป็นความคิดเห็นที่ไม่แน่ใจว่า
เป็นข้อความสนับสนุนหรือคัดค้าน เพราะแสดงความคิดเห็นที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็น
ในการวิจารณ์ละครของวศิน ส่วนความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการวิจารณ์ละครของ
6 การวิจัยนี้วิเคราะห์เฉพาะความคิดเห็นที่เกี่ยวกับการน าผลงานอื่นมาใช้โดยไม่
ขออนุญาตเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว การน าผลงานของผู้อื่นมาใช้
โดยไม่ขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งหมด นอกจากที่ระบุไว้ใน
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์หมวด 1 ลิขสิทธิ์ ส่วนที่ 6 ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์