Page 254 -
P. 254

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                       วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560)   235


                 วศินนั้น มีจ านวนความคิดเห็นที่จัดเป็นข้อความสนับสนุนมากกว่าความคิดเห็นที่
                 จัดเป็นข้อความคัดค้าน โดยความคิดเห็นที่จัดเป็นข้อความคัดค้านนั้นเป็นความคิดเห็น
                 ที่ใช้การอ้างเหตุผลผิดทั้งหมด เกิดจากการอ้างว่าคนไทยทั้งหมดหรือผู้หญิงทั้งหมด
                 รับชมละครโดยไม่จ าเป็นต้องน าเสนอตามหลักข้อเท็จจริง และยกตัวอย่างภาพยนตร์

                 ต่างประเทศบางเรื่องว่าไม่จ าเป็นต้องน าเสนอโดยใส่ใจข้อเท็จจริง

                        กรณีศึกษาที่ 3 มีจ านวนความคิดเห็นที่ไม่แน่ใจว่าเป็นข้อความสนับสนุน
                 หรือข้อความคัดค้านมากที่สุด เพราะแสดงความคิดเห็นในประเด็นอื่นที่ไม่ใช่เรื่อง
                 การกระท าของแม่ค้าในกรณีศึกษานี้ ส่วนความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการกระท าของ
                 แม่ค้าในกรณีศึกษา มีจ านวนความคิดเห็นที่จัดเป็นข้อความสนับสนุนมากกว่าความ
                 คิดเห็นที่จัดเป็นข้อความคัดค้าน โดยความคิดเห็นที่จัดเป็นข้อความคัดค้านนั้น
                 ส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นว่าต าหนิทั้งการกระท าของแม่ค้าและลูกค้าที่มีอาการ

                 ภูมิแพ้อาหาร โดยต าหนิแม่ค้าที่ไม่ท าตามรายการสั่งซื้อ และต าหนิลูกค้าว่าหากรู้ตัว
                 ว่ามีอาการภูมิแพ้อาหารที่เป็นวัตถุดิบที่นิยมน ามาท าเค้กก็ไม่ควรรับประทานเค้ก
                 หรือถ้าต้องการรับประทานเค้กก็ควรซื้อวัตถุดิบมาท าเค้กเอง และมีความคิดเห็น
                 คัดค้านส่วนน้อยที่ต าหนิลูกค้าว่า จงใจก่อกวนแม่ค้าหรือพฤติกรรมของลูกค้าท าให้
                 แม่ค้าเข้าใจว่าลูกค้าต้องการก่อกวน ซึ่งมีบางความคิดเห็นที่เป็นข้อความคัดค้านแต่

                 ไม่ได้จัดเป็นการอ้างเหตุผลผิดแตกต่างจากกรณีศึกษาที่ 1 และกรณีศึกษาที่ 2 ซึ่งมี
                 การน าเสนอข้อมูลของทั้งสองฝ่ายที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกัน ในขณะที่กรณีศึกษาที่
                 3 มีเพียงข้อความจากแม่ค้าเพียงฝ่ายเดียว ท าให้ไม่ทราบถึงพฤติกรรมของลูกค้าที่
                 แม่ค้ากล่าวถึงจึงสามารถเกิดข้อสงสัยในการกระท าของลูกค้าได้ว่าอาจจงใจก่อกวน
                 แม่ค้า โดยความคิดเห็นที่เป็นข้อความคัดค้านแต่ไม่ได้จัดเป็นการอ้างเหตุผลผิดนั้น
                 คือความคิดเห็นที่ไม่ได้ตีความว่าลูกค้าเจตนาก่อกวนแม่ค้า แต่แนะน าว่าลูกค้าที่มี

                 อาการภูมิแพ้อาหารควรสั่งอาหารอย่างละเอียดเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด

                        2. เมื่อพิจารณาประเภทของการอ้างเหตุผลผิดที่ปรากฏในงานวิจัย พบว่า
                 อันดับการใช้การอ้างเหตุผลผิดทั้งสามประเภทสอดคล้องกัน กล่าวคือ การอ้างเหตุผลผิด
                 ทางจิตวิทยาถูกน ามาใช้เป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือการอ้างเหตุผลผิดทางเนื้อหา
                 และล าดับสุดท้ายคือการอ้างเหตุผลผิดทางรูปแบบ โดยจากการศึกษากรณีศึกษาทั้ง
   249   250   251   252   253   254   255   256   257   258   259