Page 258 -
P. 258
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560) 239
9. อภิปรายผลการวิจัย
จากผลการศึกษางานวิจัยนี้ พบว่า แม้มีการใช้ค าย้อมสีเพื่อสร้างภาพลักษณ์
เชิงบวก แต่ค าย้อมสีส่วนใหญ่ที่ปรากฏเป็นการใช้ค าย้อมสีซึ่งสร้างภาพลักษณ์ในเชิง
ลบ ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อผู้ที่ถูกตั้งสมญานามเช่นเดียวกับการแย้งที่ตัวบุคคล
เมื่อพิจารณาการแสดงความคิดเห็นในเว็บไซต์ดราม่าแอดดิคดอทคอมแล้ว
พบว่า มีการใช้ค าย้อมสีที่สร้างภาพลักษณ์ในเชิงลบและการแย้งที่ตัวบุคคลซึ่งอาจ
เข้าข่ายถ้อยค าที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังซึ่งถือเป็นการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์ได้ ดัง
ผลการศึกษาของณัฐรัชต์ สาเมาะ และคณะ (2557, น. 351-363) ซึ่งศึกษาการรับรู้
ของเยาวชนต่อการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์ ธันยากร ตุดเกื้อ (2557) ซึ่งศึกษาการพัฒนา
ตัวบ่งชี้พฤติกรรมการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์ของเยาวชนในจังหวัดสงขลา วิมลทิพย์
มุสิกพันธ์ และคณะ (2552) ซึ่งส ารวจพฤติกรรมการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์ของเยาวชน
ไทยในเขตกรุงเทพมหานคร และอมรทิพย์ อมราภิบาล (2559) ซึ่งศึกษาเหยื่อการ
รังแกในพื้นที่ไซเบอร์ในกลุ่มเยาวชน: ปัจจัยเสี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพจิตและการ
ปรึกษาบุคคลที่สาม ดังนั้นจึงควรช่วยกันรณรงค์ถึงผลเสียอันเกิดจากการกลั่นแกล้ง
กันทางอินเทอร์เน็ต โดยเริ่มจากตนเองก่อนคือ คิดก่อนแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อ
แสดงความคิดเห็นแล้วจะเป็นการท าร้ายใครหรือไม่
ส่วนการแสดงความคิดเห็นจากกรณีศึกษาทั้ง 3 กรณีศึกษา พบว่า มีผู้แสดง
ความคิดเห็นจ านวนมากที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในประเด็นที่เกี่ยวข้องในการถกเถียง
และรีบแสดงความคิดเห็น โดยข้อมูลที่น ามาอ้างนั้นก็ไม่แน่ว่าจะมีถูกต้องและ
ครบถ้วนหรือไม่ ท าให้เกิดการอ้างเหตุผลผิด ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการศึกษา
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ก าลังถกเถียงก่อนแสดงความคิดเห็น และการให้ข้อมูล
ที่เป็นความรู้เกี่ยวกับประเด็นของเรื่องที่ก าลังถกเถียงแก่ผู้ที่ร่วมแสดงความคิดเห็น