Page 255 -
P. 255
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
236 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
3 กรณีศึกษา พบว่า การอ้างเหตุผลผิดที่ถูกน ามาใช้มากที่สุด 3 อันดับแรก คือการ
ใช้ค าย้อมสี 97 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 32.23 ของความคิดเห็นที่จัดเป็นการอ้างเหตุผล
ผิดทั้ง 3 กรณีศึกษา การเปรียบเทียบผิดแง่ 52 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 17.28 ของความ
คิดเห็นที่จัดเป็นการอ้างเหตุผลผิดทั้ง 3 กรณีศึกษา และการแย้งที่ตัวบุคคล 47 ครั้ง
คิดเป็นร้อยละ 15.61 ของความคิดเห็นที่จัดเป็นการอ้างเหตุผลผิดทั้ง 3 กรณีศึกษา
แสดงให้เห็นว่าการแสดงความคิดเห็นที่เป็นเรื่องราวดราม่านั้น ผู้แสดงความคิดเห็น
มักใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล ซึ่งผลการศึกษานี้สอดคล้องกับงานวิจัยของนิพัทธ
ผึ้งไผ่งาม (2557) ซึ่งศึกษาการอ้างเหตุผลผิดในการโต้แย้งบนเว็บบอร์ด
การใช้ค าย้อมสีถูกน ามาใช้มากที่สุดในทั้ง 3 กรณีศึกษาและการแย้งที่ตัว
บุคคลถูกน ามาใช้ในกรณีศึกษาที่ 1 มากเป็นอันดับสามถูกน ามาใช้ 1 ครั้งในกรณีศึกษา
ที่ 2 และถูกน ามาใช้มากที่สุดเป็นอันดับสองในกรณีศึกษาที่ 3 นั้น ล าดับของการอ้าง
เหตุผลผิดทั้งสองอันดับสอดคล้องกับงานวิจัยของ Kanchana Chokwichien (2006)
ซึ่งศึกษาการอ้างเหตุผลผิดของกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตซึ่งศึกษาเฉพาะกรณีความคิดเห็น
เชิงจริยธรรมบนกระดานข่าว โดยแตกต่างเพียงผลการวิจัยดังกล่าวมีการอ้างเหตุผล
ผิดประเภทการทวนค าถามหรือการอ้างเหตุผลผิดประเภททวนค าถามเป็นอันดับที่ 2
เท่านั้น
ตัวอย่างเช่น
ภาพที่ 1. ความคิดเห็นที่ 17 จากกรณีศึกษาที่ 1 (ดราม่าแอดดิคดอทคอม, 2556)
จะเห็นได้ว่า ผู้แสดงความคิดเห็นที่ 17 ใช้การอ้างเหตุผลผิดแบบการใช้
ค าย้อมสีโดยกล่าวว่า แอดมินของเฟซบุ๊ก แฟนเพจ คานิวอล ไทยแลนด์ละเมิดลิขสิทธิ์
เพราะเป็นโจร