Page 107 -
P. 107

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


           88        Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)


                 ชุดที่ 1  ประพาศป่า  เริ่มตั้งแต่อิเหนาน าไพร่พลออกเที่ยวป่าโดยปลอมตัว
          เป็นชาวป่าชื่อมิสาระปันหยีจนถึงปันหยีสั่งให้ไพร่พลหยุดพักและสร้างพลับพลาที่
          ประทับบริเวณภูเขาปะราปีใกล้เมืองหมันหยา
                 ชุดที่ 2  ประสันตาต่อนก  เริ่มตั้งแต่ระตูบุดสิหนาพร้อมด้วยพี่ชายคือระตู

          ปันจะรากันและระตูปักกะมาหงันเดินทางมาถึงภูเขาปะราปีและแวะกราบพระฤๅษี
          สังปะติเหงะที่อาศรมจนถึงระตูบุดสิหนาลานางดะระสาไปรบกับปันหยีหลังจากทหาร
          ของระตูมีเรื่องทะเลาะวิวาทกับประสันตา
                 ชุดที่ 3  ยกทัพพระเยาวราช  เริ่มตั้งแต่ปันหยีทราบเรื่องที่ประสันตาไป

          วิวาทกับทหารของระตูบุดสิหนาจนท าให้เกิดศึกจนถึงปันหยีสั่งให้ยกทัพเคลื่อนพล
                 ชุดที่ 4  พิฆาฎรตูบุดสิหนา  เริ่มตั้งแต่ระตูบุดสิหนายกทัพมาประจัญกับ
          ทัพของปันหยีจนถึงปันหยีสังหารระตูบุดสิหนา
                 ชุดที่ 5  ดะระสาแบหลา  เริ่มตั้งแต่นางดะระสากราบศพของระตูบุดสิหนา
          ผู้เป็นสามีจนถึงนางดะระสาแบหลากระโจนเข้ากองไฟ

                 เมื่อจบแต่ละชุดมีข้อความระบุว่า “ปิดม่าน” อันแสดงให้เห็นว่าเป็นการแสดง
          บนเวทีที่ดูได้ด้านเดียวแบบตะวันตกและมีม่านเปิด-ปิด และหลังจากจบชุดที่ 5 มีค า

          ว่า “ศุภมัสดุ” ปิดท้ายบทละคร ค าว่า “ศุภมัสดุ” นี้ หมายถึง ขอความดีความงามจงมี
          เป็นค าที่ใช้ขึ้นต้นลงท้ายในประกาศที่เป็นข้อความส าคัญ เช่น พระบรมราชโองการ
          (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, น. 1147) การลงท้ายบทละครด้วยค าดังกล่าวจึงมีนัยเป็น
          การอวยพรหรือให้พรอันเป็นมงคลนั่นเอง

                 ในตอนเริ่มต้นของบทแต่ละชุด พบว่ามีแบบแผนตรงกัน คือมีข้อความบอก
          ล าดับของชุดและชื่อชุดในเครื่องหมายวงเล็บ ตามด้วยค าอธิบายการจัดฉากและ
          ลักษณะการท าบทของตัวละครในตอนเริ่มแสดง โดยบางชุดบอกลักษณะการแต่งกาย
          ของตัวละครและระบุเพลงหน้าพาทย์ไว้ด้วย เช่น ตอนเริ่มต้นบทชุดที่ 2 “ประสันตา


          เช่น บทละครร้องเรื่องมหาราชวงศ์พม่าแผ่นดินพระเจ้าสี่ป๊ อมินทร์ ทรงแบ่งบทละครออกเป็น
          12 ชุด และทรงตั้งชื่อชุดต่างๆ คล้องจองกันว่า “เสวยราชสมบัติ ขัตติยาภิเษก เฉกเพชะหึง
          ถึงฆ่า พม่าแสลง แรงสวาทตเพีด เกีดความ ยามร้าย อุบายพระนาง อ้างยุธนา กล้าเหมือน
          ขลาด เอะกราชถลาย” (ประเสริฐอักษร, 2470, น. ก-ฆ)
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112