Page 103 -
P. 103
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
84 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
ชุดๆ แล้วปรับเปลี่ยนการด าเนินเรื่อง มีการแต่งบทร้องใหม่เข้าไปผสมผสานกับบทร้อง
ของบทละครในเรื่องอิเหนาฉบับรัชกาลที่ 2 มีการก าหนดเพลงและการเจรจาเข้าไปใหม่
และมีการใช้ภาษาได้อย่างมีวรรณศิลป์หลายช่วง ซึ่งจากการส ารวจงานวิชาการที่
ผ่านมาพบว่า แม้จะมีการศึกษาบทละครร าพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ
นราธิปประพันธ์พงศ์ อยู่พอสมควร เช่น งานของรักษ์พงศ์ ธรรมผุสนา (2544) งาน
3
ของฉายกฤษณ์ แซมค า (2553) และงานของพรรษพงศ์ สิขัณฑกนาค (2557) แต่ยัง
ไม่พบการศึกษาที่กล่าวถึงพระนิพนธ์บทละครร าเรื่องอิเหนาฉบับนี้
ด้วยเหตุที่บทละครร าเรื่องอิเหนาฉบับนี้เป็นเรื่องอิเหนาอีกส านวนหนึ่งที่มี
ลักษณะที่น่าสนใจหลายประการ ประกอบกับเป็นเรื่องที่ยังไม่เคยมีผู้ศึกษาหรือเป็นที่
รู้จักแพร่หลาย จึงควรน าบทละครเรื่องนี้มาศึกษาอย่างละเอียดต่อไปในฐานะเป็น
ตัวอย่างของวรรณคดีการแสดงเรื่องอิเหนาที่ “ปรุง” ขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5
2. วัตถุประสงค์ในกำรศึกษำ
ศึกษาลักษณะการแต่งและคุณค่าของบทละครร าเรื่องอิเหนาพระนิพนธ์
ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ในฐานะวรรณคดีการแสดง
3 งานของรักษ์พงศ์ ธรรมผุสนา (2544) ศึกษาพระนิพนธ์บทละครร าประเภท
ละครพันทางและละครเสภาจ านวน 14 เรื่องในฐานะวรรณคดีการแสดง งานของฉายกฤษณ์
แซมค า (2553) ศึกษาการแสดงตอนพระลอตามไก่ในละครพันทางเรื่องพระลอ พระนิพนธ์
ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ฉบับอาจารย์สุวรรณี ชลานุเคราะห์
และงานของพรรษพงศ์ สิขัณฑกนาค (2557) ศึกษาการบรรจุเพลงในละครพันทางเรื่องพระลอ
ตอนลงสรงเสี่ยงน ้า พระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์