Page 101 -
P. 101
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
82 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
1. บทน ำ
เรื่องอิเหนาเป็นนิทานเรื่องหนึ่งที่เป็นที่รู้จักในสังคมไทยมาช้านานตั้งแต่สมัย
1
อยุธยาตอนปลาย โดยเป็นเรื่องหนึ่งที่ใช้แสดงละครในซึ่งเป็นละครของพระมหากษัตริย์
ความนิยมนิทานเรื่องนี้เห็นได้เด่นชัดตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายเป็นต้นมา
เช่น การน าเรื่องอิเหนามาแต่งเป็นวรรณคดีประเภทต่างๆ เป็นต้นว่าค าฉันท์ นิราศ
ลิลิต ค าโคลง และบทเห่กล่อมพระบรรทม การอ้างถึงเรื่องอิเหนาในวรรณคดีหลาย
เรื่องโดยเฉพาะเพลงยาว การน าเรื่องอิเหนาไปใช้ในการขับร้องประเภทต่างๆ เช่น
มโหรี สักวา และคอนเสิต รวมทั้งการน าเนื้อหาไปวาดเป็นจิตรกรรมหลายแห่งดังเช่น
ที่วิหารวัดโสมนัสวิหาร
ความนิยมเรื่องอิเหนายังเห็นได้จากการเลือกน าเรื่องนี้ไปใช้ในการแสดงต่างๆ
ด้วย ซึ่งเห็นได้ชัดในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งละครในของหลวงและละครของพระบรมวงศานุวงศ์
และขุนนาง โดยการเล่นละครหลวงเรื่องอิเหนาในรัชสมัยนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ละครหลวงในรัชกาลที่ 4 แสดงในช่วงต้นรัชกาล เนื่องจาก
2
ในเวลานั้นยังมิได้ฝึกหัดละครหลวงขึ้นใหม่ แต่ภายหลังก็ทรงพระราชด าริให้ฝึกหัด
ละครหลวงชุดใหม่ขึ้นเพื่อแสดงในงานสมโภชพระนครอายุครบ 100 ปี เมื่อ พ.ศ.2425
ส่วนละครร าของพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางก็พบว่านิยมเล่นเรื่องอิเหนากันอย่าง
แพร่หลาย เช่น ละครร าของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ละครร าของพระองค์เจ้า
สิงหนาทราชดุรงค์ฤทธิ์ ละครร าของเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ และละครร าของ
1 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่มีละครในได้ แต่ต้องเป็นละครชาย (เสาวณิต วิงวอน,
2555, น. 93)
2 ในช่วงต้นของสมัยรัชกาลที่ 5 ละครในของหลวงครั้งรัชกาลที่ 4 ได้ออกเล่นเรื่อง
อิเหนาในงานสมโภชช้างเผือก พ.ศ.2413 โดยเล่นผสมโรงกับละครในของหลวงครั้งรัชกาลที่ 2
และเล่นในงานสมโภชช้างเผือก พ.ศ.2415 ต่อมา พ.ศ.2440 ได้ออกเล่นอีกครั้งในงานสมโภช
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับจากยุโรป (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาด ารงราชานุภาพ, 2508, น. 197-199)