Page 105 -
P. 105

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


           86        Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)


                 พระนามแฝง “พระศรี” ซึ่งทรงใช้ในบทละครร าเรื่องอิเหนานี้ พบว่าทรงใช้
          ในการทรงพระนิพนธ์บทละครเรื่องอื่นๆ ด้วยอีกหลายเรื่อง เช่น บทละครร้องเรื่อง
          “ผัวจี๋ผัวผัว” บทละครร้องเรื่อง “ไกว้กลิ้น ฤๅเสียเชิง” และบทละครร้องเรื่อง “กลืนใม่เข้า
          คายใม่ออก” มีข้อสังเกตว่า บนหน้าปกฉบับพิมพ์ของบทละครเหล่านี้ระบุว่า “พระศรี

          รจนา” ต่างจากบทละครร าเรื่องอิเหนาที่ใช้ว่า “พระศรีช าระแลปรุง” เหตุที่ทรงใช้ค าว่า
          “ช าระแลปรุง” ในบทละครร าเรื่องอิเหนา คงเป็นเพราะทรง “ปรุงบท” ขึ้นจากบทละคร
          ในเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 มิได้ทรง “รจนา” ขึ้นใหม่ทั้งหมด


          4.2 ชื่อเรื่องและชื่อตอนที่ปรำกฏในฉบับพิมพ์

                 หน้าปกฉบับพิมพ์ของบทละครร าเรื่องอิเหนา ตอนดะระสาแบหลา ระบุชื่อ

          เรื่องและชื่อตอนไว้ดังนี้

                                      บทลครร า
                             เรื่องพระราชนิพนธ์อิเหนา (เล็ก)
                                  ชุด ดะระสาแบหลา
                                  (พระศรีช าระแลปรุง)
                                                     (พระศรี, ม.ป.ป., หน้าปก)

                 ชื่อเรื่องและชื่อตอนที่ปรากฏในหน้าปกดังกล่าวนี้ มีข้อที่น่าสนใจ 3 ประการ
          ประการแรก การที่เรียกเรื่องอิเหนานี้ว่าเป็น “พระราชนิพนธ์” แสดงให้เห็นว่าคงเรียก
          ตามบทละครในเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นฉบับที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ

          กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงใช้เป็นหลักในการทรงพระนิพนธ์บทละครร าฉบับนี้
          ประการที่สอง การที่มีค าว่า “(เล็ก)” ไว้ท้ายชื่อเรื่องอิเหนา เป็น “อิเหนา (เล็ก)” น่าจะ
          สะท้อนให้เห็นว่า ในช่วงเวลาที่ทรงพระนิพนธ์นั้น เรื่องอิเหนาที่เป็นที่รู้จักกันดีคงมี
          ทั้งเรื่อง “อิเหนา (เล็ก)” และเรื่อง “อิเหนา (ใหญ่)” หรือเรื่องดาหลัง จึงต้องมีวงเล็บ
          ระบุค าว่า “(เล็ก)” ไว้ท้ายชื่อเรื่องด้วยเพื่อบ่งชี้ว่าเป็นเรื่องอิเหนาส านวนใด ประการที่
          สาม การที่ฉบับพิมพ์สะกดชื่อตอนว่า “ดะระสาแบหลา” เช่นเดียวกับในบทประพันธ์ที่

          สะกดชื่อตัวละครนี้ว่า “ดะระสา” ทุกแห่งเช่นกัน สะท้อนให้เห็นว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110