Page 102 -
P. 102
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560) 83
ท้าวราชกิจวรภัตร นอกจากนี้ ยังมีการน าเรื่องอิเหนาไปใช้ในการแสดงละครประเภท
ใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในสมัยนั้นด้วย เช่น ละครดึกด าบรรพ์
ในบรรดาละครเรื่องอิเหนาในสมัยรัชกาลที่ 5 ดังกล่าวนี้ ละครที่ไม่ค่อยมีผู้
รู้จักหรือกล่าวถึงในปัจจุบัน คือ ละครร าเรื่องอิเหนาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ
นราธิปประพันธ์พงศ์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิป
ประพันธ์พงศ์ ทรงมีชื่อเสียงในด้านละครร้อง ดังที่ทรงได้รับยกย่องให้เป็น “พระบรม
ครูแห่งละครร้อง” (เพลินพิศ ก าราญ และเนียนศิริ ตาละลักษมณ์, 2522, น. 64) ส่วน
ผลงานละครร าของพระองค์ที่มีชื่อเสียงมากก็คือเรื่องพระลอซึ่งเล่นเป็นละครพันทาง
ด้วยเหตุนี้ จึงอาจท าให้ไม่ค่อยมีผู้กล่าวถึงละครร าเรื่องอิเหนาของพระองค์มากนัก
ทั้งที่ได้ทรงฝึกหัดละครดังกล่าวเช่นกันคู่กับเรื่องรามเกียรติ์ โดยเล่นเป็น “ลคร
แบบเดิม” หรือละครร าแบบละครใน ดังที่พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
ทรงเล่าไว้ใน “ภาคผนวกว่าด้วยต้นเค้าแห่งลครชนิดซึ่งเรียกกันว่า “แบบปรีดาลัย””
ว่า
...กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ก็ได้ทรงแต่งเรื่องใหม่ๆ เล่นต่อมา
อีกเช่นเรื่องในพงศาวดารหลายตอน เรื่องกากี เรื่องภารตะ เรื่อง
ตุ๊กตายอดรัก เรื่องบุญมีมาเองที่กล่าวในพระราชหัตถเลขาเปนต้น
นอกจากนั้นยังได้เล่นลครแบบเดิมคืออิเหนาแลรามเกียรติเปน
ตัวอย่าง...
(พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ, 2474, น. 94)
ลักษณะส าคัญประการหนึ่งของการแสดงละครร าเรื่องอิเหนาดังกล่าวนี้คือ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรง “ปรุง” บทละครขึ้นใหม่จาก
บทละครในเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 ดังปรากฏหลักฐานเป็นพระนิพนธ์
บทละครร าเรื่องอิเหนา ซึ่งพบตัวบทในเวลานี้ 1 ตอน คือ ตอนดะระสาแบหลา
เมื่อพิจารณาพระนิพนธ์บทละครร าเรื่องอิเหนาดังกล่าวในเบื้องต้นพบว่า
แม้บทละครฉบับนี้มีเพียงตอนเดียวและเป็นตอนสั้นๆ แต่ก็แสดงให้เห็นลักษณะการ
“ปรุงบท” ที่น่าสนใจหลายประการที่สัมพันธ์กับการแสดง เช่น มีการแบ่งบทออกเป็น