Page 109 -
P. 109
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
90 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
แต่ภายหลังได้เน้นเล่นละครร้องซึ่งประสบความส าเร็จและมีชื่อเสียงมาก ถือเป็น “ต้นแบบ
แผนของละครร้องที่เล่นกันมาจนทุกวันนี้” (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา
ด ารงราชานุภาพ, 2508, น. 207)
ในการจัดการแสดงละคร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
ทรงพระนิพนธ์บทละคร ทรงออกแบบโรงและฉาก และทรงบัญชาการแสดงด้วย
พระองค์เอง โดยมีพระมารดาคือเจ้าจอมมารดาเขียนเป็นครูสอนร า และมีหม่อมหลวง
7
8
ต่วนผู้เป็นพระชายาเป็นผู้คิดและควบคุมเรื่องร้องและดนตรี (พระราชวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นพิทยาลงกรณ, 2474, น. 85-90)
ละครร าเรื่องหนึ่งที่ละครของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์
พงศ์ ได้จัดแสดง คือเรื่องอิเหนา ดังที่พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรง
เล่าไว้ว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ได้ทรงพระนิพนธ์บทละคร
เรื่องใหม่ๆ ขึ้นหลายเรื่องส าหรับให้คณะละครของพระองค์ใช้แสดง ขณะเดียวกันก็
“ยังได้เล่นลครแบบเดิมคืออิเหนาแลรามเกียรติเปนตัวอย่าง” ด้วย (พระราชวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นพิทยาลงกรณ, 2474, น. 94) ซึ่ง “ละครแบบเดิม” ที่ว่านี้ หมายถึงละครร า
แบบละครในนั่นเอง
ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงสร้างโรงละครปรีดาลัย
ขึ้นในบริเวณวังเพื่อให้ละครหลวงนฤมิตรเล่นที่โรงละครแห่งนี้โดยเก็บค่าเข้าชม การจัด
แสดงละครที่โรงละครปรีดาลัยนี้มีชื่อเสียงและประสบความส าเร็จมาก พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชด าเนินไปทอดพระเนตรการแสดงหลายครั้ง (พระราช
วรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ, 2474, น. 95)
7 เจ้าจอมมารดาเขียนเคยเป็นตัวละครหลวงครั้งรัชกาลที่ 4 และร าเป็นตัวอิเหนาได้
งดงามเลื่องชื่อจนมีฉายาที่ชาววังเรียกกันว่า “คุณเขียนอิเหนา” (พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่น
พิทยาลงกรณ, 2474, น. 84)
8 หม่อมหลวงต่วนเป็นบุตรีของหม่อมราชวงศ์ตาบ มนตรีกุล ณ อยุธยา ซึ่งสืบ
เชื้อสายมาจากเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี ผู้ทรงเป็นครูละครในสมัยรัชกาลที่ 2 ด้วยเหตุ
นี้ “หม่อมหลวงต่วนเป็นเชื้อสายจึงฉลาดในการละครเป็นอันมากและฉลาดในทางดนตรี
ด้วย” (เพลินพิศ ก าราญ และเนียนศิริ ตาละลักษมณ์, 2522, น. 43-44)