Page 101 -
P. 101
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การใช้ภาษา ดังจะเห็นได้จากผลจากการสัมภาษณ์ที่ว่า “การที่ผู้สอนไม่เปรียบเทียบความสามารถของ
ผู้เรียนกับผู้อื่นท�าให้ผู้เรียนมีก�าลังใจ”
ดังนั้นในการเรียนการสอน ผู้สอนจึงเป็นผู้ที่มีส่วนส�าคัญในความส�าเร็จและความล้มเหลวในการ
ใช้ภาษาของผู้เรียน ผู้สอนต้องให้ความส�าคัญกับตัวผู้เรียนเป็นล�าดับแรก ความรู้สึกของผู้เรียน (Attitudes)
ความต้องการจ�าเป็น (Needs) ความรู้ความสามารถขณะที่เข้ามาเรียน (Language Competence) และ
ประสบการณ์เดิมของผู้เรียนที่มีติดตัวมา เช่น ประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษจากโรงเรียนเดิม สถานะ
ทางเศรษฐกิจของครอบครัว สภาพสังคม สิ่งแวดล้อม ค่านิยม ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ปรับเจตคติควบคู่
ไปกับการเรียนการสอน นอกจากนี้เพื่อให้การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเกิดผลสัมฤทธิ์ในการสอน
มากขึ้น ผู้สอนต้องเป็นผู้มีความรู้สึกรักในการที่จะช่วยท�าให้ผู้เรียนของตนสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้
ตามอัตภาพในสภาพจริงในการสื่อสาร ดังเช่น Lyon กล่าวว่า “The passion to help one’s students
grow in their own individuality, becoming emotionally more whole and intellectually more
self suff cient, is perhaps the most benign of teacher attitudes. It requires great personal
strength.” (Lyon 1971:197 cited in Stevick 1976: 87)
2. การขาดความรู้และทักษะพื้นฐานที่เป็นองค์ประกอบในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
อัจฉรา วงศ์โสธร (2527: 127) กล่าวว่า ผู้เรียนจะมีความสามารถในการสื่อสารนั้นจะต้องมีความ
สามารถในการใช้ภาษา 3 ด้าน หนึ่งในนั้น คือ สมรรถภาพด้านกฎเกณฑ์ภาษา (Linguistic Competence)
หมายถึง ความสามารถในการสื่อสารโดยอาศัยพื้นฐานทางภาษาศาสตร์ ประกอบด้วย เสียง (Phonology)
ศัพท์ (Vocabulary) ไวยากรณ์ (Grammar) และ Mackey (1965: 266 cited in Bygate, 1991: 5)
กล่าวว่า การพูดภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้นั้น ผู้พูดจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ ต้องมีความ
เข้าใจ จดจ�าค�าศัพท์ รูปแบบ กฎเกณฑ์ของไวยากรณ์ เพื่อสามารถน�าความรู้นั้นมาผูกร้อยเรียงให้เป็น
ข้อความและเปล่งเสียงออกมาเป็นภาษาพูดที่มีลักษณะใกล้เคียงการพูดของเจ้าของภาษาให้มากที่สุดเพื่อ
ขจัดปัญหาในการสื่อสาร
ข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นถึงความรู้พื้นฐานเป็นปัจจัยส�าคัญที่จะสร้างและพัฒนาความสามารถ
ในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้เรียน ดังนั้นถ้าผู้เรียนมีความรู้และความสามารถทางด้านภาษา
ที่จ�ากัดจะเป็นอุปสรรคในการสื่อสารด้วยวาจาซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์จากแบบสอบถามพบว่า
ผู้เรียนจ�านวนร้อยละ 45.5 ที่ขาดความมั่นใจในตนเองเพราะมีปัญหาด้านการใช้ค�าศัพท์ การออกเสียง
การใช้ไวยากรณ์ และการเรียงประโยค และในการสังเกตพฤติกรรมในการพูดภาษาอังกฤษหน้าห้องเรียน
ในครั้งแรก กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่กล้าออกมาพูด พูดติดขัดเพราะคิดค�าศัพท์ที่จะใช้แต่งประโยคไม่ออก
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554 93