Page 104 -
P. 104

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์





                     เป็นที่น่าสังเกตว่าพฤติกรรมและความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างมี

            การเปลี่ยนแปลง  เมื่อได้ผ่านการฝึกฝนไปสักระยะหนึ่ง  ประชากรกลุ่มตัวอย่างสามารถพูดสื่อสารภาษา
            อังกฤษอย่างเป็นทางการได้ดีขึ้นตามล�าดับ ปรากฏการณ์เช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่า การฝึกฝนเป็นประจ�าอย่าง

            ต่อเนื่องภายใต้ค�าแนะน�า การสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่าง ท�าให้กล้าพูด กล้าออกเสียง กล้าคิด สามารถคิดหา
            ค�าศัพท์ที่จะใช้งานได้เร็วขึ้น มีทักษะในการใช้ภาษาที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น มีความคล่องในพูด สามารถน�าค�า

            ศัพท์มาเรียบเรียงเป็นข้อความส�าหรับพูดได้ดีขึ้นทั้งการพูดที่มีการเตรียมตัว และไม่มีการเตรียมตัว พฤติกรรม
            ดังกล่าวสามารถพิสูจน์ให้เห็นว่าการลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องสม�่าเสมอในหลากหลายสถานการณ์

            ภายใต้การให้ค�าแนะและชี้น�าแนวทางในการแก้ไขปัญหา สามารถพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการพูดภาษา
            อังกฤษอย่างเป็นทางการในที่ชุมชนของกลุ่มตัวอย่างได้อย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้ว่าประชากรกลุ่มตัวอย่างจะ

            มีระดับความรู้ภาษาอังกฤษแตกต่างกัน

                     4.  ขาดทักษะการเรียบเรียงความคิดในการน�าเสนอ

                     Finocchiaro and Sako (1983: 54) กล่าวถึงองค์ประกอบของความสามารถในการพูดเพื่อการ

            สื่อสารว่า นอกจากผู้พูดจะต้องมีความรู้ในเรื่องของการออกเสียง ค�าศัพท์ ตลอดจนวัฒนธรรมของภาษา
            แล้ว  ผู้พูดควรค�านึงถึงองค์ประกอบอื่นๆ  ด้วย  โดยหนึ่งในนั้นคือการค�านึงถึงความคิดที่ผู้พูดต้องการจะ

            สื่อความหมาย  ซึ่งสอดคล้องกับสังเกตพฤติกรรมของประชากรกลุ่มตัวอย่างจ�านวนมากไม่สามารถแสดง
            ความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ออกมา พฤติกรรมดังกล่าวสะท้อนถึงการขาดทักษะในการแสดงความคิดเห็นใน

            การเรียนการสอนที่ผ่านมา



            ข้อเสนอแนะจากการศึกษา

                     1.  การสอนการพูดภาษาอังกฤษส�าหรับการสื่อสารควรตั้งอยู่บนรากฐานความต้องการ (Needs)

            ของผู้เรียน ความรู้สามารถของผู้เรียนที่มีอยู่ (Language Competence and Performance) และความ
            แตกต่างระหว่างบุคคล

                     2.  กิจกรรมการเรียนการสอนควรมีการฝึกพูดภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการในห้องเรียน  เพื่อ
            ให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้ความรู้ความสามารถทางด้านภาษาของตนเองในการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ ฝึก

            คิด ฝึกการให้เหตุผล เพื่อเกิดทักษะและความมั่นใจในการใช้ภาษาพูดเพื่อการสื่อสาร
                     3.  ผู้สอนการพูดควรเป็นผู้ที่เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการใช้ภาษา  การแสดงความคิดเห็น

            การให้เหตุผลที่มีน�้าหนัก และสามารถชี้แนะแนวทางการแก้ปัญหาการพูดของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
                     4.  วิธีการวัดผลการเรียนการสอนการพูดควรสอดคล้องกับทักษะที่สอน






           96   วารสารมนุษยศาสตร์  ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109