Page 106 -
P. 106

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์





                          การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาวัฒนธรรมในแบบเรียน
                                  ภาษาฝรั่งเศสส�าหรับชาวต่างชาติ


              Change of Cultural Contents in French Methods as a Foreign
                             Language Used for Foreigner Students



                                                                                ชนยา ด่านสวัสดิ์  1
                                                                           Chanaya Darnsawasdi
                                                                              สิรจิตต์ เดชอมรชัย  2
                                                                              Sirajit Dejamonchai
                                                                              จุฑามาศ ประมูลมาก  3
                                                                            Juthamas Pramoolmak



            บทคัดย่อ

                     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาทางวัฒนธรรม
            ในแบบเรียนภาษาฝรั่งเศสส�าหรับชาวต่างชาติ แบบเรียนที่น�ามาใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิเคราะห์ครั้งนี้

            เป็นแบบเรียนที่ตีพิมพ์โดยส�านักพิมพ์ในประเทศฝรั่งเศสในช่วงระหว่าง ค.ศ. 2005 ถึง 2009 ในระดับ A1
            และ A2 ซึ่งเป็นระดับเริ่มต้นตามกรอบสหภาพยุโรป จ�านวน 8 เล่ม ได้แก่ Entrée en matière I, Festival

            I, Métro Saint-Michel I, Métro Saint-Michel II, Alors? I, Echo I, Ici II และ Scénario I ผลจากการ
            วิเคราะห์พบว่ามีหัวข้อเนื้อหาวัฒนธรรมใหม่ที่ไม่เคยปรากฏในแบบเรียนยุคเก่า ได้แก่ รูปแบบของครอบครัว

            ยุคใหม่ เทคโนโลยีสมัยใหม่ สิทธิมนุษยชน สิทธิสตรี การแบ่งแยก ปัญหาผู้อพยพ ความแตกต่างระหว่าง
            วัฒนธรรมและชีวิตนักศึกษาต่างชาติในประเทศฝรั่งเศส เนื้อหาดังกล่าวสอดคล้องกับวัฒนธรรมและสภาพ

            สังคมของประเทศฝรั่งเศสที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนั้น ยังมีการน�าเสนอหัวข้อเนื้อหาเกี่ยวกับสหภาพยุโรป
            และประชาคมโลกผู้พูดภาษาฝรั่งเศสอย่างเด่นชัดมากขึ้น เนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีนโยบายในการด�ารง

            รักษาภาษาฝรั่งเศส รวมทั้งเผยแพร่วัฒนธรรมฝรั่งเศสให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ผลจากการศึกษาครั้งนี้ได้สะท้อน
            ให้เห็นบทบาทและความส�าคัญของการแพร่กระจายของพื้นที่เชิงวัฒนธรรมของประเทศฝรั่งเศส










            1  อาจารย์ประจ�าภาควิชาภาษาฝรั่งเศส คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
            2  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจ�าภาควิชาภาษาฝรั่งเศส คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
            3  อาจารย์ประจ�าโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111