Page 102 -
P. 102
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บางคนพูดภาษาไทยปนภาษาอังกฤษ และมีข้อผิดพลาดทางด้านการใช้ภาษา สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงความ
จ�ากัดและคุณภาพของความรู้พื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษที่ประชากรกลุ่มตัวอย่างมี
ปัญหาการขาดความรู้พื้นฐานดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างคิดว่าส่วนหนึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการเรียน
การสอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่มุ่งเน้นการเรียนเรื่องของศัพท์และไวยากรณ์ โดยที่ผู้เรียน
จะจดจ�าค�าศัพท์และไวยากรณ์เพื่อน�าไปตอบค�าถามในการสอบมากกว่าเรียนรู้เพื่อการน�าไปใช้พูดสื่อสาร
จริง เป็นผลท�าให้จ�าค�าศัพท์ไม่ได้ ใช้ไวยากรณ์ไม่ถูก ปัญหาดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์
เรียนเดิมของผู้เรียนทั้งในด้านการรับรู้ภาษา (Receptive Skills) และการใช้ภาษา (Productive Skills)
(Stevick 1976 : 110) เพราะถ้าผู้เรียนเรียนภาษาอังกฤษด้วยความรู้สึกต้องเรียนเพื่อมีความรู้ส�าหรับ
การสอบเข้าศึกษาต่อ การเรียนด้วยเหตุผลดังกล่าวท�าให้เรียนด้วยความจ�าเป็น ผู้เรียนไม่มีความสนใจที่
แท้จริงในการเรียนรู้หรือฝึกปฏิบัติ ท�าให้ความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษถูกจดจ�าได้ในช่วงระยะเวลาสั้นเท่านั้น
ดังกล่าวไว้ใน Stevick (1976: 110) “Defensive learning sees the foreign language as a vast
set of sounds and words and rules and patterns …, Learning thus becomes a means of
adapting to academic requirement, or to life in a foreign country but like a suit of armor
it is a burden, to be worn a little as possible and cast off entirely (i.e. forgotten) at the
f rst safe opportunity.” และถ้าการเรียนการสอนที่ผ่านมามีกิจกรรมที่ท�าให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการลงมือ
ปฏิบัติจะท�าให้ผู้เรียนจดจ�าค�าศัพท์และความรู้ทางด้านไวยากรณ์ได้ดีขึ้นดังกล่าวใน Stevick (1976: 38)
ว่า “…what is essential for memory is response by the learner”
ดังนั้นปัญหาที่พบจากการศึกษาครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเรียนการสอนที่ผ่านมาขาดการส่งเสริม
ให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษในการสื่อสารตามสภาพจริง เป็นผลท�าให้ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
ขาดความมั่นใจในความรู้พื้นฐานของตนเอง
3. การขาดการฝึกฝนและประสบการณ์ในการพูดเพื่อการสื่อสาร
ผลการวิจัยจากการสังเกตพฤติกรรมการพูดภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการในห้องเรียน และ
จากข้อมูลการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่าปัญหามีลักษณะเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ ไม่มีความกล้า
และขาดความมั่นใจในการพูด หรือจากการสังเกตพฤติกรรมการพูดภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการใน
ห้องเรียน ก็พบว่าในการเรียนชั่วโมงแรก ผู้เรียนไม่สามารถพูดสื่อสารความคิดของตนเองให้กับผู้ฟังได้
อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพูดภายใต้สถานการณ์ที่กดดันยิ่งท�าให้ผู้เรียนพูดด้วยความล�าบาก
การพูดภาษาอังกฤษเป็นการสื่อสารที่ต้องผสมผสานความรู้ความสามารถทางด้านภาษา และ
ความคิด Bygate (1991: 3) ผู้สอนเป็นผู้มีบทบาทส�าคัญในการที่จะท�าให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงใน
94 วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554