Page 97 -
P. 97

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์





                       1.3  ความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างเมื่อออกไปพูดแสดงความคิดเห็นหน้าห้องเรียน  กลุ่มตัวอย่าง

              รู้สึกกลัวพูดไม่ได้ กระวนกระวายเมื่อต้องพูดภาษาอังกฤษในที่ชุมชน และกลัวออกเสียงผิด

                       1.4  ปัญหาการพูดภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการหน้าห้องเรียน  ในลักษณะที่มีการเตรียมตัว

              ฝึกซ้อมมาก่อนล่วงหน้า  และไม่มีการเตรียมตัวก่อนล่วงหน้า  พบว่าเมื่อมีการเตรียมตัวล่วงหน้า  กลุ่ม
              ตัวอย่างคิดว่าการพูดติดขัด  เป็นปัญหาส�าคัญมากที่สุดล�าดับแรก  รองลงมาคือ  คิดค�าศัพท์ที่พูดไม่ออก

              และมีปัญหาในการเลือกใช้ tense ในการร้อยเรียงค�าพูด ในกรณีที่กลุ่มตัวอย่างพูดโดยไม่ได้เตรียมตัวก่อน
              ล่วงหน้า กลุ่มตัวอย่างคิดว่าการคิดค�าศัพท์ไม่ออกเป็นปัญหาส�าคัญมากล�าดับแรก รองลงมาคือ การพูด

              ติดขัด และเรียงข้อความค�าพูดไม่ถูก

                       1.5  ปัญหาการพูดภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการในที่ชุมชนจากแบบสอบถามปลายเปิด พบว่า
              กลุ่มตัวอย่างคิดว่าสิ่งที่เป็นปัญหาต่อการพูดภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการในที่ชุมชนมากที่สุดคือการพูด

              ติดขัด คิดค�าศัพท์ไม่ออก และไม่รู้จะใช้ tense ใดในการร้อยเรียงประโยค ส�าหรับสาเหตุของปัญหา กลุ่ม
              ตัวอย่างคิดว่าปัญหาหลักคือพื้นฐานไม่ดีและไม่ได้ฝึกปฏิบัติจริง รองลงมาคือ ความไม่มั่นใจ อาย กังวล

              กระวนกระวายใจ เมื่อต้องพูดต่อหน้าชุมชน ส�าหรับวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า
              ควรมีการฝึกฝนบ่อยๆ ในด้านการใช้ค�าศัพท์ การฟัง การพูด


                       ส่วนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเกตพฤติกรรมการพูดภาษาอังกฤษ

                       ผู้วิจัยได้บันทึกพฤติกรรมในการพูดของกลุ่มตัวอย่างทุกสัปดาห์เพื่อติดตามพัฒนาการในการพูด
              ภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการ  กิจกรรมการเรียนการสอนวิชาการสื่อสารด้วยวาจา  ผู้สอนจะสอนทฤษฎี

              การพูด สาธิตการพูดในที่ชุมชนตามหลักทฤษฎี และมอบหมายให้กลุ่มตัวอย่างออกมาพูดหน้าชั้นเรียนใน
              รูปแบบที่ไม่มีการเตรียมตัวและมีการเตรียมตัว หลังจากการพูดของกลุ่มตัวอย่างทั้งชั้นเรียนพูดเสร็จสิ้นลง

              ผู้สอนจะให้ค�าแนะน�าและบอกแนวทางในการแก้ไขปัญหาในการพูดเป็นรายบุคคล เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างน�า
              ไปพัฒนาปรับปรุงการพูดของตนเองในการพูดครั้งถัดไป


                       2.1  การพูดหน้าห้องเรียนที่ไม่มีการเตรียมตัว พบว่าในชั่วโมงแรกของการเรียนการสอน ผู้สอน
              ได้ให้กลุ่มตัวอย่างพูดแนะน�าตัวเอง กลุ่มตัวอย่างไม่กล้าออกมาพูด เมื่อจ�าเป็นต้องออกมาหน้าชั้นเรียน

              ส่วนใหญ่มีอาการตื่นเต้นประหม่า  ทักทายผู้ฟังในลักษณะที่ไม่เหมาะสม  มีท่าทางเขินอาย  ไม่สามารถ
              ควบคุมตัวเอง พูดภาษาอังกฤษด้วยส�าเนียงแบบไทย ไม่สามารถเรียบเรียงประเด็นการพูด การพูดติดขัด

              และการพูดมีภาษาไทยปะปนออกมากับภาษาอังกฤษ จ�านวนค�าศัพท์มีค่อนข้างจ�ากัด การเรียนการสอน
              ในสัปดาห์ที่ 2-15 มีการพูดหน้าชั้นเรียนแบบไม่ได้เตรียมตัวรวม 5 ครั้ง ทุกครั้งที่ฝึก ผู้สอนเขียนหัวข้อ

              ให้แสดงความคิดเห็นโดยให้กลุ่มตัวอย่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นทีละคน จากการสังเกตพบว่าในการพูด





                                                          วารสารมนุษยศาสตร์  ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554  89
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102