Page 95 -
P. 95

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์





              สถานศึกษาที่ผ่านมาไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา

              ที่ตั้งไว้  ตลอดจนมีข้อมูลที่น�าเสนอต่อสังคมไทยและทั่วโลกถึงความล้มเหลวของการพูดภาษาอังกฤษของ
              คนไทยมีมากถึงร้อยละ 99 (Piset Wattanavitukul, September 2006)


                       ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือประเทศไทยเป็นประเทศที่มีจ�านวนผลงานที่นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ
              ผู้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ น�าเสนอและเผยแพร่สู่สังคมโลกจ�านวนน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าร่วมน�าเสนอ

              ผลงานปากเปล่าในการประชุมสัมมนาวิชาการในระดับนานาชาติ  การพูดภาษาอังกฤษเป็นอุปสรรคอย่าง
              ยิ่งที่ท�าให้คนไทยเสียโอกาสในการแข่งขัน เผยแพร่ความรู้ ความสามารถและผลงานการคิดค้นสู่เวทีโลก

                       ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความส�าคัญของปัญหาการพูดภาษาอังกฤษของคนไทย  โดยเฉพาะ

              อย่างยิ่งปัญหาการพูดภาษาอังกฤษของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ไม่ได้เรียนวิชาเอกภาษาอังกฤษ
              นิสิตเหล่านี้จะส�าเร็จการศึกษาออกไปรับใช้สังคมและเป็นก�าลังส�าคัญในการพัฒนาประเทศชาติให้กับ

              ภาครัฐและส่วนต่างๆ  ของประเทศในอนาคต  นอกจากนี้การศึกษาปัญหาของการพูดภาษาอังกฤษอย่าง
              เป็นทางการในที่ชุมชนของนิสิตยังไม่มีผู้ใดท�าการศึกษามาก่อน  ผลของการศึกษาวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์

              อย่างยิ่งในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  และการปรับปรุง
              หลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษโดยรวม



              วัตถุประสงคของการวิจัย


                       1.  เพื่อส�ารวจปัญหาของการพูดภาษาอังกฤษในที่ชุมชนของนิสิตคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย
              เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

                       2.  เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์



              ระเบียบวิธีวิจัย

                       การวิจัยนี้ใช้การศึกษาแบบผสมผสานการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการ
              วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีรายละเอียดดังนี้


                       กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือนิสิตระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
              วิทยาเขตศรีราชา ที่เรียนวิชาการสื่อสารด้วยวาจา (Speech Communication) ในภาคปลาย ปีการศึกษา

              2550 จ�านวน 89 คน และในภาคต้น ปีการศึกษา 2551 จ�านวน 90 คน เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง










                                                          วารสารมนุษยศาสตร์  ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554  87
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100