Page 96 -
P. 96

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์





                     เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม  (participatory  observation)

            การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง (Structural In-depth Interview) และแบบสอบถามแบบประมาณ
            ค่าของลิเคิร์ท (Likert Scale) ที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงด้านเนื้อหาจากผู้ทรงวุฒิ และทดสอบ

            หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธ์แอลฟ่า (Coeff cient Alpha) มีค่าความเชื่อมั่น 0.8722



            วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

                     ผู้วิจัยสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมและบันทึกพฤติกรรมการพูดของกลุ่มตัวอย่างทุกสัปดาห์รวม

            ระยะเวลา 15 สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ 8 สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นการสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Group
            Interview) โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อยกลุ่มละ 3-6 คน สัมภาษณ์ในห้องที่จัดให้โดยเฉพาะ ผู้สัมภาษณ์ด�าเนินการ

            สนทนาตามล�าดับขั้นตอนที่ก�าหนดไว้ในโครงสร้างในแบบสัมภาษณ์ มีการบันทึกเสียงการสนทนา ในสัปดาห์ที่
            9  ส�ารวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างโดยแจกแบบสอบถามในชั้นเรียนและเก็บรวบรวมแบบสอบถามคืน

            ในตอนท้ายของชั่วโมงเรียน


            ผลการวิจัย

                     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ผลวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ผลวิเคราะห์
            ข้อมูลจากการสังเกต และผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก สรุปได้ดังนี้


                     ส่วนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม

                     1.1  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง  20-21  ปี  เรียนอยู่ในชั้นปีที่  3  เกรดเฉลี่ยประมาณ
            2.00-2.49 ซึ่งเป็นผลการเรียนในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์ในต่างประเทศร้อยละ 10.97

            กลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์การพูดภาษาอังกฤษในที่ชุมชนในระดับมัธยมร้อยละ 2.58 และกลุ่มตัวอย่าง
            ที่มีประสบการณ์การพูดภาษาอังกฤษในที่ชุมชนระดับมหาวิทยาลัยร้อยละ  9.03  จ�านวนดังกล่าวคิดเป็น

            สัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับจ�านวนประชากรทั้งหมดของกลุ่มตัวอย่าง

                     1.2  ความคิดเห็นที่กลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการพูดภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการในที่ชุมชนมีดังนี้

            ล�าดับแรกที่กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยคือ การพูดภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการมีประโยชน์ต่อการสัมภาษณ์เข้า
            ท�างาน รองลงมาคือการพูดภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการเป็นสิ่งจ�าเป็นในการประกอบอาชีพต่างๆ และ

            ประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในล�าดับสุดท้าย คือ ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการ
            ในที่ชุมชนเป็นเรื่องของพรสวรรค์ของแต่ละบุคคล







           88   วารสารมนุษยศาสตร์  ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101