Page 100 -
P. 100
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พูดแสดงความคิดเห็นหน้าห้องเรียนที่พบว่ากลุ่มตัวอย่างพูดติดขัด มีข้อผิดพลาดในการใช้ภาษา ออกเสียง
ไม่ถูกท�าให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสาร นอกจากนี้ปัญหาดังกล่าวยังสอดคล้องกับผลของการสัมภาษณ์ ที่มี
ประชากรของกลุ่มตัวอย่างหลายคนได้พูดถึงปัญหาในการพูดภาษาอังกฤษของตนเอง ได้แก่ เรื่องค�าศัพท์
ไวยากรณ์ การเรียงประโยค การออกเสียง
ผลของการวิจัยดังกล่าวสามารถอนุมานปัจจัยที่ท�าให้ผู้เรียนขาดความมั่นใจในการพูดภาษา
อังกฤษในที่ชุมชนได้ ดังนี้
1. การขาดเจตคติที่ดีต่อการพูดภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการ
จากผลการสัมภาษณ์ในเชิงลึกด้านการแสดงความรู้สึกเกี่ยวกับการพูดภาษาอังกฤษอย่างเป็น
ทางการ พบว่าประชากรที่รู้สึกชอบและประชากรที่ไม่ชอบการพูดภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการ มีจ�านวน
เท่ากันคือร้อยละ 50 ความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบของผู้เรียนเป็นเรื่องเจตคติในตัวผู้เรียนที่มีอิทธิพลต่อการ
พัฒนาหรือต่อต้านการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เจตคติเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์การเรียนการ
สอนภาษาต่างประเทศในห้องเรียน
ในเรื่องที่เกี่ยวกับเจตคตินี้ Gardner (1985: 7-8) กล่าวว่า เมื่ออยู่ในห้องเรียน ตัวผู้สอนและวิธี
การสอนจะมีบทบาทส�าคัญ (Important Role) ในการก่อให้เกิดเจตคติต่างๆในตัวผู้เรียน ถ้าผู้สอนมีทักษะ
การสอนภาษาที่เก่ง และสามารถกระตุ้นนักเรียนให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกอยากเรียน ตลอดจนมีวิธีการสอน
ที่น่าสนใจ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียน (Positive Attitudes) ทั้งนี้ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก
ประชากรร้อยละ 90 มีความเห็นว่าผู้สอนและลักษณะการสอนมีผลต่อเจตคติและการพัฒนาทักษะด้านการ
พูดของตน ซึ่งเป็นผลการศึกษาที่มีความสอดคล้องกัน จากการวิเคราะห์ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากร
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะมีความคิดเห็นว่าผู้สอนที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้เก่ง ส�าเนียงดี มีความมั่นใจ
บุคลิกภาพดี ยิ้มแย้มแจ่มใส ให้ก�าลังใจผู้เรียน เป็นสิ่งที่สร้างความกล้าในการออกไปพูดภาษาอังกฤษใน
ที่ชุมชนซึ่งสอดคล้องกับค�ากล่าวอ้างจาก Chastain (1971: 370 cited in Stevick 1976: 97) “…, the
teacher should f rst of all appear to the students as a strong person, a source of stability.
Otherwise their deepest need, at the level of security, will remain unfulf lled.” ทั้งนี้เพราะ
ผู้เรียนภาษาต่างประเทศจะสามารถพัฒนาความรู้ความสามารถทางภาษาใหม่ของตนได้ก็ต่อเมื่อเรียนรู้
ภายใต้สภาพที่มีความกลัวน้อยที่สุด (Curran: 1962: 92 cited in Stevick: 1976: 98) ซึ่งผู้สอนเป็นผู้มี
บทบาทส�าคัญในการกระตุ้นและผลักดันให้ผู้เรียนสร้างพฤติกรรมตอบสนอง
นอกจากนี้การปฏิบัติตัวของผู้สอนภาษาอังกฤษที่มีต่อผู้เรียนภาษาอังกฤษระหว่างการเรียน
การสอน เช่นการให้ค�าชมหรือค�าต�าหนิ ส่งต่อเจตคติและการพัฒนาความสามารถทางด้านภาษาและ
92 วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554