Page 370 -
P. 370

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






          1. นิกเกิลในดิน
                   ดินโดยทั่วไปมีนิกเกิล  10-1,000  (มก.Ni/กก.)  และเฉลี่ย  40  (มก.Ni/กก.)  ดินส่วนใหญ่มี

          นิกเกิล 100 มก.Ni/กก. แต่ดินใบบริเวณโรงงานถลุงแร่หรือที่ทิ้งตะกอนน�้าเสียซึ่งมีนิกเกิลสูง อาจมีธาตุนี้
          ในปริมาณมากจนเป็นพิษต่อพืช  ส�าหรับชนิดของสารประกอบและการจ�าแนกนิกเกิลในดิน  มีดังต่อไปนี้
          (ยงยุทธ, 2558; Brown, 2007)

               1.1 นิกเกิลในแร่และอินทรียวัตถุ
                   นิกเกิลเป็นองค์ประกอบของแร่ เช่น ไพรอกซีน โอลิวีน และฮอร์นเบลนด์ นอกจากนี้ยังมีในแร่

          ดินเหนียว ออกไซด์ของเหล็กและอะลูมินัมด้วย ในดินโดยทั่วไปประมาณ 0.001 % ของนิกเกิลทั้งหมด
          เท่านั้นที่อยู่ในสารละลายดิน  และเป็นประโยชน์ต่อพืช  ส่วนมากเป็นของแข็งที่ไม่ละลาย  ซึ่งมีทั้งในรูป
          ของสารอนินทรีย์  (แร่ต่างๆ)  และสารอินทรีย์  โดยนิกเกิลในสารดังกล่าวอาจอยู่ในโครงสร้างของแร่หรือ

          เพียงแต่ดูดซับไว้ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวหรือฮิวมัส  ซึ่งส่วนหลังนี้อาจถูกแทนที่ได้ด้วยแคตไอออนอื่นๆ
          แล้วออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืช  แต่ส่วนที่ถูกดูดซับเป็นสัดส่วนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับนิกเกิลทั้งหมด

          ในดิน
               1.2 ไอออนในสารละลายดิน
                                     2+
                   ไอออนของนิกเกิล (Ni ) ในสารละลายดิน ส่วนมากอยู่ในรูปที่มีน�้าจ�านวน 6 โมเลกุลเป็นส่วน
                              2+
          ประกอบ หรือ Ni(H O)  แต่ปริมาณของไอออนรูปนี้จะลดลงเมื่อ pH ของดินสูงขึ้น นอกจากนั้นไอออน
                           2  6
          ของนิกเกิลอาจท�าปฏิกิริยากับสารอินทรีย์บางชนิดหรือกรดอินทรีย์  เป็นไอออนเชิงซ้อนที่ละลายน�้าได้
          ส�าหรับการละลายของนิกเกิลในดินขึ้นอยู่กับ pH กล่าวคือ เมื่อ pH ของดินสูงกว่า 6.7 ส่วนมากจะอยู่
          ในรูปที่ละลายยาก พืชจึงอาจขาดนิกเกิลในดินด่าง แต่ถ้า pH ของดินต�่ากว่า 6.5 นิกเกิลจะละลายง่าย
          และมีนิกเกิลไอออนในสารละลายดินมาก ซึ่งเป็นรูปที่พืชดูดไปใช้ได้ง่าย



          2. บทบาทของนิกเกิล

                   นิกเกิลมีบทบาทส�าคัญในทางสรีระของพืชหลายด้าน เช่น กระตุ้นการท�างานของเอนไซม์ ช่วย
          ในการการพัฒนาปมของรากถั่ว  และส่งเสริมการงอกของเมล็ด (ยงยุทธ, 2558) ซึ่งสรุปได้ดังนี้
                   1) กระตุ้นการท�างานของเอนไซม์  ส�าหรับเอนไซม์ชนิดแรกในพืช  ที่พบว่าใช้นิกเกิลกระตุ้น

          กิจกรรม  คือ  ยูรีเอส  (urease)  เอนไซม์นี้ช่วยให้ยูเรีย  [CO(NH ) ]  สลายได้แอมโมเนีย  (NH )  และ
                                                                 2 2                     3
          คาร์บอนไดออกไซด์ (CO ) ต่อจากนั้นเซลล์พืชก็ใช้แอมโมเนียในการสังเคราะห์กรดอะมิโน ซึ่งกรดอะมิโน
                              2
          จะถูกน�าไปสังเคราะห์โปรตีนและเอนไซม์ต่อไป
                     ในปัจจุบันนี้เอนไซม์ยูรีเอสนี้มีบทบาทส�าคัญต่อพืชเศรษฐกิจมากขึ้น เนื่องจากยูเรีย (ปุ๋ย
          สูตร  46-0-0)  เป็นปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้ในการผลิตพืชมากที่สุด  พืชสามารถดูดยูเรียได้โดยตรงทั้งทางราก

          และทางใบ ส�าหรับยูเรียที่ใส่ทางดินนั้น รากพืชใช้ประโยชน์ดังนี้




          366 จุลธาตุของข้าว (ส่วนที่ 2)                             ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   365   366   367   368   369   370   371   372   373   374   375