Page 367 -
P. 367
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
-
โดยปรกติน�้าทะเล (มี NaCl ประมาณ 4 %) เป็นแหล่งของ Cl ในบรรยากาศ จึงมีคลอไรด์
ติดมากับน�้าฝนในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของพืชทั่วไป (0.4-0.8 กก.Cl/ไร่) แต่ในพื้นที่บริเวณ
ชายฝั่งทะเลจะมี Cl ลงมากับน�้าฝนในปริมาณที่มากกว่านี้
-
2. บทบาทของคลอรีน
เมื่อกล่าวถึงบทบาทของธาตุอาหารนี้ในพืช จะเรียกว่าบทบาทของธาตุคลอรีน ส�าหรับคลอรีน
มีบทบาทในด้านสรีระและการเติบโตของพืช เนื่องจากเป็นองค์ประกอบในสารอินทรีย์บางชนิด เกี่ยวข้อง
กับกระบวนการสังเคราะห์แสง ควบคุมการเคลื่อนที่ของน�้าเข้า-ออกจากเซลล์ กระตุ้นกิจกรรมของเอนไซม์
และลดความรุนแรงของโรคพืชบางชนิด (ยงยุทธ, 2558) ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1) องค์ประกอบในสารอินทรีย์บางชนิด แม้ว่าพืชจะมีสารอินทรีย์ที่มีคลอไรด์เป็นองค์ประกอบ
มากกว่า 100 ชนิด แต่มีเพียง 1 ชนิดเท่านั้นที่แสดงกิจกรรมทางสรีระอย่างชัดเจน คือ 4-chloroindole
acetic acid ซึ่งออกฤทธิ์ด้านฮอร์โมนพืชแบบออกซิน
2) บทบาทในกระบวนการสังเคราะห์แสง คลอรีนมีบทบาทในการสังเคราะห์แสง 2 ขั้นตอน
คือ ท�าหน้าที่ในปฏิกิริยาแสง (light reaction) และควบคุมการเปิดปากใบ ส�าหรับหน้าที่แรกนั้น ท�างาน
+
ร่วมกับแมงกานีส (Mn) ในขั้นตอนการแยกสลายน�้าให้ได้อิเล็กตรอน (e) โปรตอน (H ) และออกซิเจน
-
(ดูรายละเอียดในเรื่องแมงกานีส) ช่วยให้ระบบการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอนที่เกี่ยวเนื่องกับปฏิกิริยาแสงมี
ความสมบูรณ์ ส�าหรับบทบาทในการเปิดปากใบมีรายละเอียดในเรื่องโพแทสเซียม
3) ควบคุมการเคลื่อนที่ของน�้าเข้า-ออกจากเซลล์ เนื่องจากคลอไรด์ไอออนเคลื่อนที่ผ่านเยื่อ
ต่างๆ ของเซลล์ได้เร็ว ไม่ท�าปฏิกิริยาทางชีวเคมีโดยง่าย และอยู่ในเซลล์ได้ค่อนข้างมากโดยไม่เป็นพิษ
คลอไรด์จึงเป็นตัวละลายหลักชนิดหนึ่งของเซลล์พืช ซึ่งท�าหน้าที่ควบคุมให้น�้าเคลื่อนที่เข้าไปในเซลล์
เพื่อรักษาความเต่งของเซลล์ไว้ เมื่อเซลล์เข้าสู่ขั้นตอนการยืดตัวก็จะสะสมโพแทสเซียมและคลอไรด์ให้สูง
เพื่อดึงน�้าเข้ามามากขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อพืชได้รับแสง เซลล์คุมทั้งคู่จะสะสมสองธาตุนี้เช่นเดียวกัน
เพื่อให้เซลล์คุมเต่งและปากใบเปิด เป็นช่องทางให้คาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปร่วมในขั้นตอนการสังเคราะห์
น�้าตาล
4) กระตุ้นกิจกรรมของเอนไซม์ ส�าหรับเอนไซม์ที่กระตุ้นกิจกรรมโดยคลอไรด์มีหลายชนิด
ที่ส�าคัญคือเอนไซม์ที่ควบคุมกิจกรรมการดูดไอออนของเยื่อภายในเซลล์ และเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการ
สังเคราะห์กรดอะมิโนบางชนิด
5) ลดความรุนแรงของโรคพืชบางโรค บทบาทนี้ของคลอไรด์ถูกค้นพบ เมื่อมีการประเมิน
สภาพการเกิดโรคพืชบางโรคจากแปลงทดลองปุ๋ย เนื่องจากการใช้ปุ๋ยคลอไรด์ เช่น โพแทสเซียมคลอไรด์
หรือแอมโมเนียมคลอไรด์ ช่วยให้พืชเป็นโรคบางชนิดน้อยกว่าการใช้ในรูปเกลือซัลเฟต ซึ่งเกิดขึ้นจาก 2
สาเหตุคือ คลอไรด์ลดความรุนแรงของโรค หรือคลอไรด์ท�าให้พืชต้านทานต่อโรคได้ดีชึ้น ส�าหรับข้าวนั้น
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว จุลธาตุของข้าว (ส่วนที่ 2) 363