Page 368 -
P. 368

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






          ปุ๋ยคลอไรด์ช่วยลดความรุนแรงของโรคพืช  2  โรค  คือ  โรคล�าต้นเน่า  (stem  rot)  ซึ่งเกิดจากเชื้อ
          Sclerotium oryzae และโรคกาบใบแห้ง (sheath blight) ซึ่งเกิดจากเชื้อ Rhizoctonia solani



          3. ความต้องการคลอรีนของพืช
                   เนื่องจากคลอรีนเป็นจุลธาตุ ความต้องการธาตุนี้เพื่อด�ารงชีวิตมีเพียง 300 มก.Cl/กก. (0.03 %)

          ส�าหรับมะเขือเทศที่มีคลอไรด์ประมาณ  0.025  มก.Cl/กก.  แสดงอาการขาดธาตุนี้  แต่พืชโดยทั่วไปมี
          คลอไรด์ในเนื้อเยื่อ 0.2-1.0 % โดยไม่เป็นพิษ ซึ่งปริมาณที่สะสมนี้มากกว่าปริมาณที่ต้องการอย่างแท้จริง

          เพื่อด�ารงชีวิต อย่างไรก็ตามพืชที่ไวต่อพิษของคลอไรด์นั้นการสะสมเพียง 0.2-2.0 % ก็อาจเป็นพิษแล้ว
          แต่พืชที่ทนทานต่อพิษของธาตุนี้ต้องสะสมตั้งแต่ 4 % ขึ้นไปจึงจะเริ่มเป็นอันตราย



          4. อาการขาดคลอรีนของพืช
                   เนื่องจากในสภาพแวดล้อมมีคลอไรด์มากจนเพียงพอส�าหรับการเจริญเติบโตของข้าว จึงไม่เคย

          มีรายงานการขาดธาตุนี้ส�าหรับข้าวที่ปลูกในนา ส่วนพืขอื่นๆ อาจจ�าแนกเป็น 3 กลุ่ม ตามความไวต่อการ
          ขาดคลอรีน เมื่อมีคลอไรด์ในวัสดุปลูกต�่า คือ กลุ่มที่ 1 ไวมาก ได้แก่ ผักกาดหอมและยาสูบ กลุ่มที่ 2
          ไวปานกลาง  ได้แก่  ฝ้าย  มันฝรั่งและถั่วเหลือง  และกลุ่มที่  3  ไม่ไวหรือทนต่อการขาด  ได้แก่  ข้าวโพด

          และมะเขือเทศ
                   อาการขาดคลอรีนของพืชมี 2 อย่างคือ (1) พืชเหี่ยวง่ายเมื่อความเข้มของแสงสูง แม้จะปลูกใน

          สารละลายธาตุอาหาร และ (2) พืชมีรากสั้นเนื่องจากรากไม่ยืดตัว เพียงแต่มีรากแขนงสั้นๆ ออกมามาก
          นอกจากนี้สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้มีอัตราการคายน�้าสูง (เช่น อุณหภูมิ และความเข้มของแสงสูง) เป็น
          ปัจจัยที่ท�าให้พืชไวต่อการขาดคลอรีนมากยิ่งขึ้น  มะเขือเทศที่ขาดคลอรีนมีใบเล็กผิดรูป  และพบอาการ

          เหลืองซีดระหว่างเส้นใบ (Dobermann and Fairhurst, 2000; Fairhurst et al., 2007)



          5. ความเข้มข้นของคลอรีนและการดูดสะสมคลอรีนของข้าว
                   ความเข้มข้นของคลอรีนและการดูดสะสมคลอรีนในเนื้อเยื่อของข้าวเป็นดังนี้ (Cambel, 2000;
          Dobermann and Fairhurst, 2000; Fageria, 2014; Fagerria et al., 2011)

               5.1 ความเข้มข้นของคลอรีนในข้าว
                   เนื่องจากคลอรีนเป็นจุลธาตุ  ความต้องการธาตุนี้เพื่อด�ารงชีวิตเพียงไม่เกิน  300  มก.Cl/กก.

          (0.03 %) และ 100 มก.Cl/กก. ก็เพียงพอส�าหรับพืชทั่วไป แต่ในสิ่งแวดล้อม คือ ดิน น�้าและมีคลอไรด์
          มากพอข้าวจึงไม่ขาดคลอรีน  นอกจากนี้ยังอาจพบในพืชมากกว่า  2,000  มก.Cl/กก.  เมื่อเปรียบเทียบ
          ความเข้มข้นของคลอรีนในส่วนต่างๆ ของข้าว พบว่าข้าวสะสมคลอรีนมากที่สุดในราก รองลงมาคือฟาง

          และต�่าที่สุดในเมล็ด (ตารางที่ 13.7)




          364 จุลธาตุของข้าว (ส่วนที่ 2)                             ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   363   364   365   366   367   368   369   370   371   372   373