Page 365 -
P. 365

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                     1) การใช้ประโยชน์ของไนโตรเจน  โมลิบดีนัมมีบทบาทส�าคัญ  2  ประการ  คือ  (1)  เป็น
            องค์ประกอบในเอนไซม์ไนโทรจีเนสซึ่งท�าหน้าที่รีดิวซ์แก๊สไนโตรเจนให้เป็นแอมโมเนียในการตรึงไนโตรเจน

            ของจุลินทรีย์  ทั้งประเภทที่อยู่อย่างอิสระหรือจุลินทรีย์ที่อยู่ร่วมกับพืช  ส�าหรับพืชตระกูลถั่วนั้น  ในปม
            ของรากมีแบคทีเรียชื่อไรโซเบียม  ตรึงไนโตรเจนแล้วส่งแอมโมเนียที่ได้ให้เซลล์พืชใช้สังเคราะห์กรดอะมิโน
                                                                                     -
            เพื่อน�ามาสร้างโปรตีนและเอนไซม์ต่างๆ  และ  (2)  การใช้ประโยชน์ไนเทรตไอออน  (NO )  ที่รากหรือใบ
                                                                                     3
            พืชดูดได้  โดยน�าไนเทรตมารีดิวซ์เป็นไนไทรต์  เปลี่ยนต่อไปเป็นแอมโมเนียม  แล้วน�ามาผลิตกรดอะมิโน
            โมลิบดีนัมเป็นองค์ประกอบในเอนไซม์ไนเทรตรีดักเทสซึ่งเร่งปฏิกิริยาการรีดิวซ์ไนเทรตให้เป็นไนไทรต์

                     2) การเปลี่ยนรูปก�ามะถัน  ในกรณีที่ใบพืชดูดแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์  (SO )  จากอากาศ
                                                                                     2
                                       2-
            แล้วเปลี่ยนซัลไฟต์ไอออน  (SO )  นั้น  เนื่องจากการสะสมซัลไฟต์อาจเป็นพิษต่อเซลล์  จึงจ�าเป็นต้องใช้
                                      3
            เอนไซม์เปลี่ยนให้เป็นซัลเฟต  (SO )  ซึ่งเป็นรูปที่พืชเก็บส�ารองไว้แล้วน�ามาใช้ในช่วงขาดแคลน  เอนไซม์
                                         2-
                                        4
            ดังกล่าวมีโมลิบดีนัมเป็นองค์ประกอบเช่นเดียวกัน
                     3) การสังเคราะห์สารอื่นๆ  โมลิบดีนัมมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก

            โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  RNA  ซึ่งท�าหน้าที่ในการสังเคราะห์โปรตีน  โมลิบดีนัมเกี่ยวข้องกับการท�างานของ
            วิตามินซี  และการสังเคราะห์สารอินทรีย์ฟอสเฟต  เช่น  ฟอสโฟลิปิดอันเป็นองค์ประกอบในโครงสร้าง
            ของเยื่อหุ้มเซลล์

                 2.2 บทบาทด้านการพัฒนาของพืช
                     ระยะเจริญพันธุ์เป็นช่วงที่โมลิบดีนัมมีบทบาทส�าคัญ  ในการพัฒนาเกสรเพศผู้และความสมบูรณ์

            ของละอองเรณู ตลอดจนการสะสมอาหารส�ารองในเอนโดสเปิร์มของเมล็ด


            3. อาการขาดโมลิบดีนัมของข้าว
                     โมลิบดีนัมเป็นธาตุที่เคลื่อนย้ายในโฟลเอ็มได้ปานกลาง  อาการขาดจึงปรากฏทั้งที่ใบอ่อนและ

            ใบส่วนกลางของต้น  ข้าวที่ขาดโมลิบดีนัมจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต  เช่น  ใบมีขนาดเล็ก  ต้น
            แคระแกร็น  อาการเริ่มแรกคือแผ่นใบอ่อนมีสีเขียวอ่อนสม�่าเสมอทั้งแผ่นใบ  เมื่อการขาดรุนแรงมากขึ้น

            จะพบว่าเนื้อใบระหว่างเส้นใบมีสีเหลือง  และขอบของแผ่นใบโค้งขึ้น  หรือใบม้วนจนผิดรูปทรง  ข้าวเป็น
            พืชที่ไม่ไวต่อการขาดโมลิบดีนัมมากนัก  เมื่อเทียบกับข้าวโพดและถั่วเหลืองซึ่งเป็นพืชที่ไวและค่อนข้างไว
            ต่อการขาดธาตุนี้ตามล�าดับ (Dobermann and Fairhurst, 2000; Fairhurst et al., 2007)


            4. ความเข้มข้นและการดูดสะสมโมลิบดีนัมของข้าว

                     ความเข้มข้นของโมลิบดีนัมและการดูดสะสมโมลิบดีนัมในเนื้อเยื่อของข้าวเป็นดังนี้  (Cambel,
            2000; Dobermann and Fairhurst, 2000; Fageria, 2014; Fagerria et al., 2011)

                     1) ความเข้มข้นของโมลิบดีนัมในข้าว
                       (1) ความเข้มข้นของโมลิบดีนัมของข้าวที่แสดงว่าขาดแคลนหรือเพียงพอ  ขึ้นอยู่กับระยะ



                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว                             จุลธาตุของข้าว (ส่วนที่ 2)  361
   360   361   362   363   364   365   366   367   368   369   370