Page 364 -
P. 364
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2-
พีเอช 3-8 นั้น เมื่อพีเอชของดินเพิ่มขึ้นแต่ละหน่วย จะมี MoO เพิ่มขึ้นประมาณ 10 เท่า ในช่วง
4
พีเอช 4.5-5.5 โมลิบดีนัมส่วนใหญ่อยู่ในรูป MoO มี HMoO และ H MoO ส่วนน้อย แต่ถ้าพีเอช
-
2-
4
4
4
2
ของดิน 5.5-6.5 โมลิบดีนัมในสารละลายดินเกือบทั้งหมดเป็น MoO ซึ่งเป็นรูปที่รากพืชดูดไปใช้ง่าย
2-
4
แต่โมลิบดีนัมรูปนี้ในสารละลายดินซึ่งเป็นกรด มีแนวโน้มที่ท�าปฏิกิริยากันเองกลายเป็นโมโลกุลใหญ่
ท�าให้ความเป็นประโยชน์ลดลง การใส่ปูนในดินกรดจัดเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของ
โมลิบดีนัมในดิน
2) ชนิดของดินเหนียวและปริมาณอินทรียวัตถุ หากดินมีอนุภาคดินเหนียวพวกออกไซด์ของ
เหล็กและอะลูมินัมมาก พืชจะใช้ประโยชน์จากโมลิบดีนัมในดินได้น้อย เนื่องจากโมลิบเดตไอออนเข้าไป
ดูดซับที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวดังกล่าวอย่างเหนียวแน่นและไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช
ปริมาณการดูดซับโมลิบดีนัมที่ผิวของอนุภาคเหล็กออกไซด์และอะลูมินัมออกไซด์ขึ้นอยู่
กับพีเอชของดิน การดูดซับมากขึ้นเมื่อพีเอชของดินลดลง และดูดซับได้มากที่สุดเมื่อพีเอชประมาณ 4-5
แต่การดูดซับลดลงตามล�าดับเมื่อพีเอชของดินสูงกว่า 5 ไปเรื่อยๆ และไม่มีการดูดซับเลยเมื่อพีเอช 8
สารฮิวมิกในอินทรียวัตถุก็ดูดซับโมลิบดีนัมได้ ส�าหรับการดูดซับโมลิบดีนัมที่ผิวกรดฮิวมิก
จะสูงสุดที่พีเอชดิน 3.5 โดยโมลิบดีนัมเข้าจับกับหมู่คาร์บอกซิล (carboxyl group) และหมู่ฟีโนลิก
(phenolic group) ของกรดฮิวมิก และการดูดซับจะน้อยลงเมื่อพีเอชดินสูงขึ้นเช่นเดียวกัน
3) สมดุลของธาตุอาหารในดิน ความเข้มข้นของธาตุอาหารอื่นในสารละลายดิน มีอิทธิพลต่อ
การดูดโมลิบเดตไอออนของรากพืชดังนี้ (1) การเพิ่มฟอสเฟตไอออน (H PO ) ช่วยให้พืชดูดโมลิบเดต
-
2
4
ไอออนได้มากขึ้น เนื่องจากฟอสเฟตไอออนช่วยไล่โมลิบเดตที่ถูกดูดซับ ให้ออกมาอยู่ในสารละลายดิน
-
นอกจากนี้การเพิ่มไนเทรตไอออน (NO ) และแมกนีเซียมไอออนในสารละลายดินก็ส่งเสริมให้พืชดูด
3
โมลิบเดตไอออนได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน และ (2) ในทางตรงกันข้าม การเพิ่มซัลเฟตไอออน (SO )
2-
4
แอมโมเนียมไอออน (NH ) ตลอดจนทองแดงและแมงกานีสในสารละลายดิน ท�าให้รากดูดโมลิบเดต
+
4
ไอออนได้น้อยลง ดังนั้นสมดุลของธาตุอาหารในดินจึงเป็นเรื่องที่ส�าคัญมาก การใส่ปุ๋ยธาตุหนึ่งมาก
เกินไป อาจมีผลกระทบให้พืชขาดแคลนอีกธาตุหนึ่งได้
2. บทบาทของโมลิบดีนัม
บทบาทของโมลิบดีนัมต่อการเจริญเติบโตของพืช แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ บทบาทด้านเมแทบอลิซึม
และบทบาทด้านการพัฒนาของพืช (ยงยุทธ, 2558) ซึ่งสรุปได้ดังนี้
2.1 บทบาทด้านเมแทบอลิซึม
กระบวนการทางชีวเคมีในพืชที่โมลิบดีนัมเข้าไปมีบทบาทส�าคัญ คือ การใช้ประโยชน์ของ
ไนโตรเจน ก�ามะถันและการสังเคราะห์สารอื่นๆ ข้อมูลต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นว่า แม้พืชต้องการโมลิบดีนัม
ในปริมาณเพียงเล็กน้อย แต่ก็มีบทบาทที่ส�าคัญอย่างยิ่ง
360 จุลธาตุของข้าว (ส่วนที่ 2) ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว