Page 359 -
P. 359

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






            เพศเมีย  การถ่ายละอองเรณู  การงอกของละอองเรณูและการพัฒนาเมล็ด  ซึ่งล้วนเป็นขั้นตอนส�าคัญ
            ที่น�าไปสู่ความสมบูรณ์ของผลและเมล็ด


            3. อาการขาดโบรอน

                     โบรอนเป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนย้ายทางโฟลเอ็ม  อาการขาดจึงปรากฏครั้งแรกที่ใบอ่อนหรือปลาย
            ยอด  เช่น  ปลายใบอ่อนแห้งและม้วน  เมื่อขาดรุนแรงตายอดจะตาย  แต่ยังแตกแขนงได้  ส่วนอาการ
            ผิดปรกติที่ราก คือ รากสั้น

                     หากการขาดโบรอนของข้าวในนาไม่รุนแรง  จะไม่แสดงอาการผิดปรกติที่ใบ  แต่ผลผลิตลดลง
            เนื่องจากมีเมล็ดลีบมาก  อาการอีกอย่างหนึ่งในระยะเจริญพันธุ์คือช่อดอกไม่สมบูรณ์และไม่ยืดตัว  ช่อดอก

            จึงไม่โผล่ออกมาจากกาบใบธง (Dobermann and Fairhurst, 2000; Fairhurst et al., 2007)


            4. ความเข้มข้นของโบรอนและการดูดสะสมโบรอนของข้าว
                     ความเข้มข้นของโบรอนและการดูดสะสมโบรอนในเนื้อเยื่อของข้าวเป็นดังนี้ (Cambel, 2000;

            Dobermann and Fairhurst, 2000; Fageria, 2014; Fagerria et al., 2011)
                 4.1 ความเข้มข้นของโบรอนของข้าว
                     ความเข้มข้นของโบรอนในข้าวไร่ ที่ถือว่าเพียงพอในแง่การให้ผลผลิตเมล็ด คือ 10 มก.B/กก.

            หากสูงกว่า  30  มก.B/กก.  จะเป็นพิษ  ส�าหรับข้าวน�้าขังนั้น  ในระยะแตกกอและระยะก�าเนิดช่อดอก
            ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ในสหรัฐอเมริกา มีพิสัยของค่า 5-25 และ 6-15 มก.B/กก. ตามล�าดับ ส่วนความเข้มข้น
            ในข้าวที่ถือว่าเพียงพอและเป็นระดับวิกฤติ  ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในที่อื่นแสดงไว้ในตารางที่  13.4  แสดงว่า

            ความเข้มข้นของโบรอนในแผ่นใบ  Y  ในระยะแตกกอ-IPP  ที่ถือว่าเพียงพอ  มีพิสัย  6-15  มก.B/กก.
            ส่วนความเข้มข้นในแผ่นใบ Y ซึ่งเป็นระดับวิกฤติ คือ 5 มก.B/กก.


            ตารางที่ 13.4  ความเข้มข้นของโบรอนในข้าวที่ถือว่าเพียงพอและเป็นระดับวิกฤติ


                ระยะการเติบโต          ส่วนของข้าว        เพียงพอ (มก./กก.)   ระดับวิกฤติ (มก./กก.)


                ระยะแตกกอ-IPP            แผ่นใบ Y               6-15                   5
                     สุกแก่              ฟางข้าว                  -                    3


             ที่มา : Reuter et al. (1997); Fageria et al. (2003)


                     ความเข้มข้นของโบรอนในส่วนเหนือดินของข้าวลดลงเมื่ออายุมากขึ้น  กล่าวคือในช่วงแตกกอ
            มี 7.5-7.8 มก.B/กก. ลดลงเหลือ 6.7 มก.B/กก. ในระยะตั้งท้อง ส่วนความเข้มข้นในเมล็ด 5.3 มก.Cu/

            กก. ซึ่งต�่ากว่าในซัง (ตารางที่ 13.5)



                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว                             จุลธาตุของข้าว (ส่วนที่ 2)  355
   354   355   356   357   358   359   360   361   362   363   364