Page 358 -
P. 358

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






          ท�าให้แคลเซียมในดินเพิ่มขึ้น  จึงลดความเป็นประโยชน์ของโบรอนในดินลงไป  และ  (3)  สัดส่วนระหว่าง
          แคลเซียมและโบรอนในเนื้อเยื่อพืช  สามารถบ่งบอกถึงความเพียงพอของโบรอนที่พืชได้รับ  กล่าวคือ

          ถ้า Ca:B มีค่าสูงกว่า 1,200:1 แสดงว่าพืชขาดโบรอน



          2. บทบาทของโบรอนต่อพืช
                   โบรอนมีบทบาทต่อการเจริญเติบโตของพืช 5 ประการ (ยงยุทธ, 2558) ซึ่งสรุปได้ดังนี้

                   1) เป็นองค์ประกอบในโครงสร้างของผนังเซลล์  ธาตุที่ท�าให้ผนังเซลล์แข็งแรงมี  3  ธาตุ  คือ
          แคลเซียม โบรอนและซิลิคอน (Si) ส�าหรับโบรอนในผนังเซลล์นั้น อยู่ในรูปของสารอินทรีย์โบเรตเชิงซ้อน
          ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาระหว่างกรดบอริกกับน�้าตาลและสารฟีโนลิก  การเชื่อมยึดโครงสร้างของผนังเซลล์ด้วย

          สารโบเรตเชิงซ้อนดังกล่าว  ท�าให้ผนังเซลล์มีความแข็งแรงและยืดหยุ่น  ส�าหรับผนังเซลล์ของพืชที่ขาด
          โบรอนจะมีการเชื่อมโยงของเซลลูโลสอย่างหลวมๆ และความหนาของผนังเซลล์ก็ไม่สม�่าเสมออีกด้วย

                   2) บูรณภาพของเยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ (อวัยวะเซลล์) บูรณภาพ (integrity)
          ของเยื่อ  หมายถึงสภาพของเยื่อซึ่งมีโครงสร้างสมบูรณ์และท�าหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โบรอนมี
          บทบาทในการสร้างบูรณภาพของเยื่อ  เนื่องจาก  (1)  โบรอนสามารถรวมตัวกับไกลโคโปรตีน  (โปรตีน

          ที่ส่วนหนึ่งของโมเลกุลเกาะกับคาร์โบไฮเดรต)  และไกลโคลิพิด  (ลิดพิดที่ส่วนหนึ่งของโมเลกุลเกาะกับ
          คาร์โบไฮเดรต)  อันเป็นองค์ประกอบส�าคัญของเยื่อ  ท�าให้โครงสร้างของเยื่อมีความมั่นคง  และ  (2)

          โบรอนป้องกันมิให้เกิดสารบางชนิดที่ท�าให้เยื่อช�ารุด  เช่น  อนุมูลอิสระ  เยื่อหุ้มเซลล์ของพืชที่ขาดโบรอน
          จึงมีประสิทธิภาพต�่าในด้านการดูดธาตุอาหาร และมีการรั่วไหลของสารออกจากเซลล์
                   3) การเคลื่อนย้ายของสารทางท่อล�าเลียงอาหาร  (โฟลเอ็ม)  พืชที่ได้รับโบรอนเพียงพอจะมี

          การเคลื่อนย้ายน�้าตาลและสารอินทรีย์ทางท่อล�าเลียงอาหาร  ไปเลี้ยงราก  ใบอ่อน  ดอกและผลได้มาก
          ทั้งนี้เนื่องจากโบรอนช่วยส่งเสริมให้สารอินทรีย์เหล่านั้นผ่านเยื่อเข้าไปในท่อล�าเลียงได้สะดวก จึงช่วยเพิ่ม

          อัตราการล�าเลียงสารอินทรีย์ ตลอดจนธาตุอาหารหลายชนิดไปยังอวัยวะที่ก�าลังพัฒนา อวัยวะที่เกิดใหม่
          เช่นดอกและผลจึงเจริญเติบโตเร็ว  โบรอนท�าหน้าที่ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายสารอินทรีย์ทางท่อล�าเลียงอาหาร
          ร่วมกับโพแทสเซียมและแมกนีเซียม

                   4) เมแทบอลิซึมด้านอื่นๆ  โบรอนมีบทบาทส�าคัญในเมแทบอลิซึมหลายด้าน  เช่น  การตรึง
          ไนโตรเจนในปมรากพืชตระกูลถั่ว การสังเคราะห์แสง การสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก (DNA สารที่ถ่ายทอด

          พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต และ RNA สารที่ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีน) นอกจากนี้ยังมีบทบาทเกี่ยวข้อง
          กับการท�างานของออกซิน (ฮอร์โมนพืชที่มีบทบาทในการเจริญเติบโตของเซลล์) ด้วย
                   5) การเจริญเติบโตในระยะเจริญพันธุ์  การเจริญเติบโตของพืชแบ่งเป็นสองระยะ  คือ  ระยะ

          การเจริญเติบโตไม่อาศัยเพศ  เป็นช่วงที่พืชพัฒนาราก  ส�าต้น  กิ่งก้านและใบ  ส่วนระยะเจริญพันธุ์เริ่ม
          จากการพัฒนาตาดอกจนผลสุกแก่  โบรอนมีบทบาทส�าคัญในช่วงการพัฒนาของตาดอก  เกสรเพศผู้และ




          354 จุลธาตุของข้าว (ส่วนที่ 2)                             ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   353   354   355   356   357   358   359   360   361   362   363