Page 356 -
P. 356
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1) หินและแร่ หินอัคนีมีโบรอนต�่ากว่า 10 มก.B/กก. ส่วนหินตะกอน เช่น หินเชลมีประมาณ
100 มก.B/กก. แร่ส�าคัญที่มีโบรอนเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ ทัวร์มาลีน (มีโบรอน 3-4 %) และแร่ดินเหนียว
พวกซิลิเกต อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแร่เหล่านี้ละลายยากและสลายตัวช้า หากมีโบรอนในส่วนอื่นในดิน
ต�่าแล้ว การปลูกพืชอย่างต่อเนื่องในดินดังกล่าว จะพบปัญหาขาดแคลนธาตุนี้
2) โบรอนในสารละลายดิน ช่วง pH 5-7 ส่วนใหญ่เป็นกรดบอริก (H BO ) ซึ่งพืชดูดไปใช้ได้
3
3
แต่ถ้าดินมี pH สูงกว่า 7 กรดบอริกจะเปลี่ยนเป็นแอนไอออนซึ่งมีประจุลบได้ 4 แบบ คือ H BO ,
-
2 3
2-
3-
2-
HBO , BO และ B O ด้วย
3 3 4 7
โบรอนที่เป็นประโยชน์ต่อพืช มี 2 ส่วน คือ ก) โบรอนในสารละลายของดิน ลักษณะ
พิเศษของธาตุนี้ในสารละลายของดิน ก็คือ ส่วนมากคงเป็นโมเลกุลของกรดบอริก [H BO หรือ B(OH) ]
3 3 3
โดยไม่แตกตัวเป็นไอออนเมื่อพีเอชของดินต�่ากว่า 7 แต่จะมีสภาพเป็นไอออน B(OH) เมื่อพีเอชของดิน
-
4
สูงกว่า 7 ก็ได้ ในแง่การใช้ประโยชน์ของพืช รากพืชดูดกรดบอริกทั้งโมเลกุลได้ดีกว่าการดูดใช้ในรูปแบบ
อื่นๆ และ ข) โบรอนที่ถูกดูดซับด้วยแรงที่ไม่สูงนักและเป็นประโยชน์ต่อพืช สามารถสกัดได้ด้วยน�้าร้อน
(100 องศาเซลเซียส) จึงเรียกส่วนนี้ว่าโบรอนที่สกัดได้ด้วยน�้าร้อน (hot water extractable boron)
และระดับที่เพียงพอคือ 1.3-2.0 มก.B/กก.
3) สารประกอบโบเรตที่ถูกตรึง อยู่กับแร่ดินเหนียวและอินทรียวัตถุในดิน โบเรตในดินจะถูก
ตรึงน้อยที่สุดเมื่อดินเป็นกรด ดังนั้นเมื่อดินมีพีเอชสูงหรือเป็นด่าง ความเป็นประโยชน์ของธาตุนี้จะต�่า
โบเรตในดินอาจถูกตรึงไว้กับแร่ดินเหนียวหรือกับฮิวมัส ส�าหรับการตรึงกับแร่ดินเหนียวมีลักษณะดังนี้
(1) ดินที่มีเนื้อละเอียดมักตรึงโบเรตได้มากกว่าดินเนื้อหยาบ ดังนั้นโบเรตที่มีอยู่ในดินเหนียว
ส่วนมากจะถูกตรึงไว้ เหลือเพียงส่วนน้อยในสารละลายของดิน
(2) สภาพกรดด่างของดินเป็นปัจจัยส�าคัญของการตรึงโบเรตในดิน กล่าวคือ ถ้าพีเอชของ
ดินสูงขึ้นหรือดินเป็นด่าง การตรึงจะมีมากขึ้น ดังนั้นการใส่ปูนมากเกินไปอาจท�าให้พืชขาดโบรอนได้
การตรึงโบเรตของดินเกิดขึ้นมากเมื่อดินมีพีเอช 7-9
(3) แร่ดินเหนียวพวกซิลิเกตตรึงโบเรตได้มากกว่าออกไซด์ของเหล็กและอะลูมินัม
ส�าหรับโบเรตในดินที่ถูกตรึงไว้กับฮิวมัสและแร่ดินเหนียว จัดเป็นส่วนส�ารองส�าหรับพืช
เนื่องจากเมื่อสารประกอบเหล่านี้สลายตัว ก็จะปลดปล่อยบอเรตออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชอีกครั้งหนึ่ง
1.2 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นประโยชน์ของโบรอนในดิน
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องมี 4 อย่างคือ เนื้อดิน อินทรียวัตถุ pH และความชื้นของดิน
1) เนื้อดิน มีผลดังนี้ (1) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างโบรอนในเนื้อดินที่ต่างกัน พบว่าดินทรายมี
โบรอนทั้งหมดต�่ากว่าดินเหนียว และ (2) อนุภาคดินเหนียวดูดซับโบรอนได้ ดังนั้นดินเหนียวจึงดูดยึดโบรอน
ได้มากกว่าดินทราย 2-3 เท่า แม้ดินทรายจะตรึงโบรอนได้น้อยกว่าดินเหนียว แต่โบรอนในสารละลายของ
ดินทรายถูกชะละลายง่าย พืชจึงอาจขาดแคลนธาตุนี้เมื่อปลูกในดินทราย
352 จุลธาตุของข้าว (ส่วนที่ 2) ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว